เพลงปลุกใจของวงสุนทราภรณ์: เครื่องมือโน้มน้าวจิตใจสู่ค่านิยมตะวันตก

ผู้แต่ง

  • นิติพรรณ สุวาท ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

พลงปลุกใจ, สุนทราภรณ์, การโน้มน้าว, ค่านิยมตะวันตก

บทคัดย่อ

          เพลงปลุกใจของวงสุนทราภรณ์: เครื่องมือโน้มน้าวจิตใจสู่ค่านิยมตะวันตก มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบทบาทและการใช้งานเพลงปลุกใจของวงดนตรีสุนทราภรณ์ในฐานะเครื่องมือโน้มน้าวจิตใจประชาชน เป็นการศึกษาตามแนวทางมานุษยดุริยางควิทยา รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์เพื่อสะท้อนเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมตามเหตุการณ์ทางสังคม
          ผลการศึกษาบทบาทและการใช้งานเพลงปลุกใจของวงสุนทราภรณ์ สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น คือ 1) สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชาติมหาอำนาจแถบตะวันออกและตะวันตกผ่าน 2 ช่องทาง คือ ทางเศรษฐกิจและทางการทหาร 2) ค่านิยมตะวันตกในสังคมไทยเกิดจากการแพร่กระจาย 2 ลักษณะ คือ บุคคลนอกวัฒนธรรมเป็นผู้นำพาและบุคคลในวัฒนธรรมเป็นผู้นำพา จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความเชื่อของคนในสังคมไทย จนส่งผลให้เกิดพฤติกรรมใหม่และวิถีชีวิตใหม่ ภายใต้นโยบาย “รัฐนิยม” 3) วงดนตรีสุนทราภรณ์และวงดนตรีกรมโฆษณาการดำเนินบทบาททางสังคมควบคู่กัน คือ วงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นวงดนตรีรับจ้างนอกเวลาราชการ ส่วนวงดนตรีกรมโฆษณาการ เป็นวงดนตรีหลักของรัฐบาล มีหน้าที่บรรเลงเพลงตามคำสั่งรัฐบาลผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ เช่น เพลงปลุกใจ เพลงสถาบัน เพลงเยาวชน เพลงเทศกาล 4) เพลงปลุกใจของ วงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้ประชาสัมพันธ์และสื่อสารกับประชาชน โดยประพันธ์เนื้อร้องด้วยภาษาและถ้อยคำเป็นสื่อเพื่อปลุกใจ ปลอบใจ ชักชวน แนะนำ บอกกล่าว และอธิบาย ผลจากการโน้มน้าวได้ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจเจตนาของรัฐบาล 2 ประเด็น คือ ด้านสังคม เข้าใจถึงเจตนาเพื่อให้รักชาติบ้านเมือง และด้านวัฒนธรรม เข้าใจถึงเจตนาที่ต้องการให้ประพฤติและปฏิบัติตนตามแบบสากล

References

กระทรวงวัฒนธรรมและสมาคมครูดนตรี. (2561). เอกสารประกอบการแสดงดนตรี “เยาวชน ดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติ” ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

กลุ่มนันทนาการเด็กและเยาวชน กรมพลศึกษา. (2558). แนวทางการจัดประกวดวงโยธวาทิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

คณะกรรมการผลิตชุดวิชาสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2561). การระหว่างประเทศของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คีตา พญาไทย. (2555). ตำนานครูเพลงไทยสากล ลูกกรุง. กรุงเทพฯ: พงษ์วรินการพิมพ์.

ณรงค์ พ่วงพิศ. (2545). การประกาศใช้รัฐนิยม ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487). วารสารประวัติศาสตร์. 1(1): 20-44

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พูนพิศ อมาตยกุล และณัฐชยา นัจจนาวากุล. (2559). แตรสยาม. กรุงเทพฯ: สายธุรกิจโรงพิมพ์.

มัณฑนา โมรากุล. (2558). อดีตนักร้องประจำวงสุทราภรณ์. สัมภาษณ์. 8 ธันวาคม 2558.

ยิ่งลักษณ์ บุญเก็บ. (2552). การใช้เพลงปลุกใจในฐานะสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยสำนึกรักชาติของกองทัพบก พ.ศ. 2475-2550. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

สิรินธร กีรติบุตร. (2527). เพลงปลุกใจไทย (พ.ศ. 2475-2525): การวิเคราะห์ทางการเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lyons, J. (1981). Language meaning and context. London: Fontana.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019