การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML ผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้แต่ง

  • อมีนา ฉายสุวรรณ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมีเดีย, การแปลงโมเดล, ภาษา VRML

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML ผ่านอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีจับสลากได้นักศึกษาภาคปกติ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการแปลงโมเดล 3 มิติด้วยภาษา VRML สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent)
           ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML ผ่านอินเทอร์เน็ต ทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีคุณภาพโดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.66 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 87.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงโมเดล 3 มิติ ด้วยภาษา VRML โดยภาพรวมของคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.58 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิดานันท์ มลิทอง. (2556). สื่อการสอนและฝึกอบรมจากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยา ชัยนาม และอภินภัศ จิตรกร. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาษามือไทย เรื่อง คำศัพท์พื้นฐานเพื่อการออกแบบทางศิลปะ สำหรับนักศึกษาหูหนวก ระดับปริญญาตรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(1): 145-158.

ดาวรถา วีระพันธ์ และณัฐวดี อนุพงศ์. (2560). การเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(3): 61-72.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรเมศวร์ สิริสุรภักดี ธเรศวร์ เตชะไตรภพ และบริบูรณ์ ชอบทำดี. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่อง หลักการทางานของคอมพิวเตอร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนวัดพุทไธศวรรย์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 4(1): 49-62.

มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ = Principles of statistics. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมีนา ฉายสุวรรณ. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3): 43-51

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019