การศึกษาและเปรียบเทียบแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับเสียงและคำผ่านโทรศัพท์มือถือ

ผู้แต่ง

  • กษิรา จันทะสะเร ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, การเรียนภาษาอังกฤษระดับเสียง, การเรียนภาษาอังกฤษระดับคำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติและจัดอันดับแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อการเรียนภาษาอังกฤษในระดับเสียงและคำโดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนความเหมาะสมของแอปพลิเคชัน 7 ด้าน สร้างโดย Chen (2016) ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการเชื่อมโยงกับการสอน ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ ด้านการสร้างแรงจูงใจด้านการใช้งาน ด้านการออกแบบ และด้านการแบ่งปันข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับหลักการทางภาษาศาสตร์ ในโทรศัพท์มือถือ ระบบ iOS และ Android ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย จำนวน 7 แอปพลิเคชัน การจัดอันดับแอปพลิเคชันใช้ผลรวมคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้าน

          ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันที่มีคะแนนประเมินคุณสมบัติการเรียนภาษาอังกฤษในระดับเสียงและคำมากที่สุดคือ The Prefix & Suffix Game รองลงมาคือ Sounds: The Pronunciation App และ AV Phonetics, Say It: English Pronunciation, Phonetic Cards, Greek and Latin roots finder และ Wordify- Word Maker ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันที่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดแรงจูงใจในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อฝึกทักษะภาษาด้วยตนเอง สำหรับคุณสมบัติความเหมาะสมของแอปพลิเคชัน พบว่า  ทุกแอปพลิเคชันมีองค์ประกอบที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินยกเว้นด้านการออกแบบและการแบ่งปันข้อมูล

References

Canvus, N. (2016). Development of an intelligent mobile application for teaching English Pronunciation. Procedia Computer Science 102: 365-369.

Chen, X. (2016). Evaluating language-learning mobile apps for second-language learners. Journal of Education Technology Development and Exchange (JETDE). 9(2): 39-51.

Gangiamaran, R. & Pasupathi, M. (2017). Review on use of mobile apps for language learning. International Journal of Applied Engineering Research. 12(21): 11242-11251.

Nalliveetti, G. & Alenazi, T. (2016). The impact of mobile phones on English language learning: Perceptions of EFL undergraduates. Journal of Language Teaching and Research. 7(2): 264-272.

Riasati, M. et al. (2012). Technology in language Education: Benefits and barriers. Journal of Education and Practice. 3(5): 25-30.

Smith, P. & Ragan, T. (2004). Instructional design (3rd ed.). Merill, MY: Wiley Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019