องค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้แต่ง

  • ขจรศักดิ์ ต้นวัน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สืบวงศ์ กาฬวงศ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เมธี ทรัพย์ประสพโชค หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งความสุข, กรมข่าวทหาร, กองบัญชาการกองทัพไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุข ของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาระดับองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขกับองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กำลังพลกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 173 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหารกองบัญชาการกองทัพไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.25, S.D = 0.51) ยกเว้นด้านค่านิยมร่วมขององค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.51, S.D = 0.45) 2) ระดับองค์กรแห่งความสุขของ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.87 S.D = 0.65) 3) ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งกับองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ค่าองค์กรแห่งความสุขของการทำนาย R2 เท่ากับ .445 ปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุข ทั้ง 5 ด้านมีความสัมพันธ์กับองค์กรแห่งความสุข ได้ร้อยละ 44.5 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายมี 3 ตัวแปร คือ ด้านความสัมพันธ์ ในที่ทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยเท่ากับ 1.517 ด้านความรักในงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ ความถดถอยเท่ากับ 0.836 และด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยเท่ากับ0.651 ส่วนตัวแปรด้านผู้นำองค์กรและด้านค่านิยมร่วมขององค์กร พบว่าไม่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

References

กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. (2561). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.j2.rtarf.mi.th.

กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์. (2559). Vision & Core Value. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดวิสัยทัศน์ และค่านิยม” เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร.

จิราภรณ์ ภู่สมบูรณ์. (2556). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พสุ เตชะรินทร์. (2558). แนวทางการจัดการองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพน: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2556). องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ตอนที่ 2. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: htpp://www.gotoknow.org/posts/548015.html.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.) องค์การ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/.

สุวีณา ไชยแสนย์. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 6(1), 167-183.

Best, J. W. (2001). Research in Education. New Jersey: Englewood Cliffo.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychology testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Dive, B. (2004). The healthy organization. USA: DMA Consultancy Limited.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill.

Warr, P. (2007). Work, Happiness and Unhappiness. [Online] Available: http”//books. Google.com/books..

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020