การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อุบล ไม้พุ่ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบราราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

คุณค่าตราสินค้า, การตัดสินใจซื้อ, สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน(iPhone) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามนี้มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ Cronbach มีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แสดงว่าเครื่องมือมีความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงระดับดี ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) จำนวน 400 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อคุณค่าตราสินค้าสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน พบว่า คุณค่าตราสินค้าประกอบด้วย ด้านการรู้จักตราสินค้า คุณภาพตราสินค้า ความสัมพันธ์กับตราสินค้า และด้านความภักดีในตราสินค้า มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งจากการทดสอบทำให้ธุรกิจควรคำนึงถึง การวางแผนทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) โดยเฉพาะในเรื่องการรู้จักในตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้า เนื่องจากทั้งสองปัจจัยถือเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าและช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องได้

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติมา จันทรพรและญาฎา ศรีวิฑูรย์. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจากประเทศจีนที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยในเขตกทม.ผลงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/sites/pdf. (2562, 15 มิถุนายน)

Aaker, D. (1996). Measuring Brand Equity Across Products and Markets. California Management Review. Sping

Alfin, F. (2013). Analysis of influence of brand equity towards consumer buying decision on Samsung smartphone. Thesis, President University.

Devandy, G. (2016). The influence of brand equity towards consumer purchase decision on Nokia smartphone. Thesis, President University.

Muhammad, A. A. & Sameen, N. A. (2016). The impact of brand equity on consumer purchase decision of cell phones. European Journal of Business and Innovation Research. Vol 4(4), pp.60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020