การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊ก เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนา, สื่อประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชน บ้านนาเมือง 2) ออกแบบและพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวบ้านนาเมือง แบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวบ้านนาเมือง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน มีตัวแทนจากชุมชน ร่วมเป็นทีมวิจัย ร่วมเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ตลอดจนร่วมออกแบบเนื้อหาและพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊ก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาเมือง เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนก่อให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรมของชุมชน การออกแบบและพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊ก แบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการเป็นทีมวิจัย 2) การมีส่วนร่วมด้วยการตัดสินใจ กำหนดสื่อ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปภาพ 3) การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาสื่อ ตั้งแต่ก่อนการพัฒนา การพัฒนา และหลังการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ และความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญการออกแบบสื่อและตัวแทนชุมชนต่อสื่อเพจเฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวบ้านนาเมืองที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74 ในขณะที่นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจที่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.75
References
กฤชณัท แสนทวี โชติวรรธน์ วัชระเกียรติศักดิ์ ณัฐดนัย กุลดำรง ณัฐวัฒน์ ตรังจิระเสถียร และ ปราณัสน์ วัชรประภาพงศ์. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนเชียงของ. วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2(2): 71-106.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองป่วน จันทะคุณ. (2562, 24 พฤษภาคม). บ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์.
ธิดารัตน์ วุฒิศรีเสถียรกุล. (2562, 24 พฤษภาคม). อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สัมภาษณ์.
นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยววัฒนธรรมของชุมชนบ้านหัวเขาจีน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24(2) : 143-156.
บุญทัน จันทะคุณ. (2562, 29 เมษายน). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์.
ประทีป สุวรรณรักษ์. (2542) . ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2548). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
ยรรยงวรกร ทองแย้ม. (2562, 5 เมษายน). อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สัมภาษณ์.
รสิกา อังกูร. (2549). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 19(1), 79-88.
สมชาย จันทะคุณ. (2562, 29 เมษายน). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์.
สีแปรง จันทะคุณ. (2562, 31 มีนาคม). บ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์.
เอกรงค์ ปั้นพงษ์. (2562, 5 เมษายน). อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สัมภาษณ์.
Habermas, J. (1987). The Theory of Communicative Action: Reason and the Rationalisation of Society, transt. T.McCarty. Cambridge: Polity.
Kaewthep, Gunpai & thapitanonda. (2000). Communication with the community: key Concepts for Development. The 1 community annual meeting report, May 30-31, 2000. (Mimeographed).
Khunnsri, J., & Chumpradit, K. (2017). Identities analysis for the value added of cultural tourism destinations in Chiang rai special economic zone. Journal of Management Science Chiang rai Rajabhat University Science. 11(2), 121-141.
Thumbs up. (2019). สถิติผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย ปี 2019. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : https://www.thumbsup.in.th/2019/03/facebook-thailand-insight/ (2563, 27 เมษายน).
Triandis, H.C. (2007). Culture and Psychology. In S. Kitayama & D. Cohen (Eds.), Handbook of cultural psychology. New York: Guilford.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์