นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
นาฏกรรมในพิธีกรรม, พิธีกรรมปัญโจลมะม็วดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง การสังเกตโดยตรงและการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกตโดยตรง อุปกรณ์บันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และบันทึกเสียง นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงเชิงพรรณนาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด มีนาฏกรรมปรากฏอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) เรื่องราวในพิธีกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ขั้นตอนการจัดเตรียมงาน เริ่มจาก 1.1) โบล 1.2) แซนขม็อจ 1.3) จัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้บูชาและจัดตั้งปะรำพิธี 1.4) จัดเตรียมเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง และ 1.5) จัดวางเครื่องเซ่นไหว้บูชาและเครื่องดนตรีภายในปะรำพิธี ช่วงที่ 2 ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วย เริ่มจาก 2.1) ยกครูดนตรี 2.2) ไหว้ครูเพลง 2.3) ยกครูมะม็วด 2.4) ไหว้ครูมะม็วด 2.5) ปัญโจลมะม็วด 2.6) เฮาปลึง และ 2.7) กัจปกา ซาปดาร รวมทั้งสิ้น 12 เหตุการณ์ 2) การร่ายรำประกอบของมะม็วด ปรากฏในช่วงที่ 2 ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วย เริ่มจาก 2.1) ปัญโจลมะม็วด 2.2) เฮาปลึง และ 2.3) กัจปกา ซาปดาร รวมทั้งสิ้น 10 ท่ารำ มะม็วดจะใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายในการร่ายรำ แม้นเป็นการร่ายรำแบบชาวบ้านอีสานใต้ดั้งเดิมที่ไม่มีแบบแผนตายตัว รำอย่างอิสระ แต่ทุกท่ารำล้วนมีหน้าที่และความหมายเป็นสำคัญ มีเรื่องของอารมณ์ที่มะม็วดแสดงออกมาผ่านกิริยาท่าทาง มีการใช้พื้นที่ในการร่ายรำ การแต่งกายของมะม็วด จะแต่งกายแบบชาวเขมรพื้นบ้านสุรินทร์ การแต่งกายแบบผู้ชาย จะสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งโสร่ง ภาษาเขมรเรียกว่า “โสร่งเปราะฮ์” หรือ “โฮลเปราะฮ์” มัดเอวและโพกศีรษะด้วยผ้าขาวม้า ภาษาเขมรเรียกว่า “สไบเปราะฮ์” การแต่งกายแบบผู้หญิง จะสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก หรือ นุ่งกระโจมอก พาดผ้าสไบ ภาษาเขมรเรียกว่า “ฉะนูดเลิก” นุ่งผ้าซิ่น ภาษาเขมรเรียกว่า “โฮลเซร็ย” หรือ “โสร่งเซร็ย” มีการผสมผสานเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการรักษา ได้แก่ เครื่องดนตรีไทยแบบหลวง คือ วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ของชาวเขมรสุรินทร์ คือ วงดนตรีกันตรึม และเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานคือ แคน ผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยค้นพบว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด คือ นาฏกรรมพิธีกรรม เป็นการวิจัยที่ค้นพบองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับนาฏกรรมและเป็นการช่วยส่งเสริม อนุรักษ์ พัฒนาพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์ อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญและดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปในอนาคต
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ยึดหลักปักแน่นกับงานสื่อพื้นบ้าน สื่อสารสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กำพล ช่อทับทิม. (2562, 21 กรกฎาคม). นักดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2534). การฟ้อนรำของชาวไทยเขมรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จำเริญ คงทน. (2562, 21 กุมภาพันธ์). มะม็วดที่ประกอบพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
ฉัตรเอก หล้าล้ำ. (2562, 21 พฤศจิกายน). นักวิชาการทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
ปิ่น ดีสม. (2523). บันทึกประวัติเรื่องมะม๊วด (แม่มด) ของพื้นบ้านดงมัน หมู่ที่ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. (ม.ป.พ.)
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2562, 22 กรกฎาคม). นักวิชาการทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
รชต บุตรดาบด. (2562, 20 กุมภาพันธ์). มะม็วดที่ประกอบพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.
วีระ สุขแสวง. (2550). มะม็วด : พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มคนพูดภาษาเขมรถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สดใส พันธุมโกมล. (2538). ศิลปะของการแสดง (ละครสมัยใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Turner, V. W. (1982). Forest of Symbol: Acept of Ndembu Ritual. New York: Cornell University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์