การพัฒนาแนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  • ลฎาภา นาคคูบัว สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  • จุฑาภรณ์ บุญสุข สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การนิเทศการจัดการเรียนรู้, ทักษะการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี และ 2) นำเสนอแนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน จำนวน 305 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรีทุกโรงเรียน จำนวน 29 คน รวม 334 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี ที่สร้างโดยผู้วิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Needs Index; PNImodified)
            ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี ในภาพรวม ได้แก่ สภาพปัจจุบันของการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.47, S.D. = 0.64) สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.38, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพปัจจุบันที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านเทคนิคและวิธีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.69, S. D. = 0.38) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.20, S.D. = 0.83) สภาพที่พึงประสงค์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.69, S.D. = 0.48) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.91, S.D. = 0.78)
         2. แนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี ได้แนวทางการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การใช้สื่อ เครื่องมือและเทคโนโลยี ขั้นที่ 4 เทคนิคและวิธีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 การมีส่วนร่วมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 6 กิจกรรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 7 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ไพรินทร์ เหมบุตร. (2556). กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพในเครือข่ายการนิเทศที่ 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่. เอกสารอัดสำเนา.

รัตนา ดวงแก้ว. (2554). ประเด็นสาระหลักที่ 4 การเปลี่ยนแปลงในองค์การทางการศึกษาในแนวการศึกษาชุด วิชาการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. (2548). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550). มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 (พ.ศ. 2549 - 2553). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี. (2559). ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระบุรี. สระบุรี: สระบุรีการพิมพ์.

สุดารัตน์ แสงสว่าง. (2556). เทคนิคการนิเทศแบบสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring เพื่อพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเดือนเพ็ญ คงคะจันทร์ และคณะ. (2550). Coaching / Mentoring เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรนักบริหารงานส่งเสริมสุขภาพ ระดับกลาง. สมุทรสาคร: มปท.

สุวิทย์ มูลคำ. (2548). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ 2548.

ดุลย์ วงศ์ก้อม. (2552). รูปแบบการนิเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019