มารในคัมภีร์พระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • จิระศักดิ์ สังเมฆ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีาชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ประกาศิต ประกอบผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

มาร, บุคคลาธิษฐาน, ธรรมาธิษฐาน

บทคัดย่อ

          คำว่า “มาร” ในบางพระสูตรแห่งคัมภีร์พระไตรปิฎก มารมีลักษณะ เป็นตัวตนหรือที่เรียกว่า “บุคคลาธิษฐาน” คือ จำแลงตนเป็นสัตว์ เช่น งู ช้าง หรือ โค เป็นต้น บางพระสูตรมารจำแลงตนเป็นมนุษย์ เช่น ชาวนา พราหมณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี แต่ละพระสูตรไม่ว่ามารจะจำแลงตนเป็นอะไรนั้น เนื้อหาของการสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับมาร ภิกษุกับมาร หรือภิกษุณีกับมาร ส่วนมากจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักปรัชญาชีวิต แต่เนื้อหา บางพระสูตรมารมีลักษณะเป็นนามธรรมหรือเรียกว่า “ธรรมาธิษฐาน” กล่าวคือ กิเลสมาร มาร คือ กิเลสขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร เทวปุตตมาร มาร คือ เทพบุตร และมัจจุมาร มาร คือ ความตาย

References

กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2525ก). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 17 พระสุตตันตปิฎก สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2525ข). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2525ค). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 26 พระสุตตันตปิฎก สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2525ง). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 30 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

ข่าวไทยออนไลน์. (2561). พระพุทธเจ้าชนะมาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.khaothai.online/549/. (2562, 9 มกราคม)

บทความพระพุทธศาสนา. (2551). พระพุทธเจ้าผจญมาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://buddhismarticles.com/?p=682. (2562, 9 มกราคม)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ก). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ข). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 15 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: หจก.หอรัตนชัยการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019