การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล

ผู้แต่ง

  • ประทีป ทับโทน ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ศักดา สถาพรวจนา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อรสา จรูญธรรม ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบันและพึงประสงค์, การบริหารสถานศึกษา, ความรับผิดชอบต่อสังคม

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล เป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาสังกัด เทศบาล จำนวน 289 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล จำนวน 289 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified)
           ผลของการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันมีการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ จากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านกฎหมาย (gif.latex?\bar{X} = 4.31) รองลงมา ด้านธรรมาภิบาล (gif.latex?\bar{X} = 4.14) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านมนุษยธรรม (gif.latex?\bar{X} = 3.74) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ จากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{X} = 4.75) รองลงมา ด้านเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{X} = 4.70) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านมนุษยธรรม (gif.latex?\bar{X} = 4.65) และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ตามลำดับดังนี้ ด้านมนุษยธรรม (PNIModified = 0.24) ด้านสิ่งแวดล้อม (PNIModified = 0.21) ด้านเศรษฐกิจ (PNIModified = 0.19) ด้านธรรมาภิบาล (PNIModified = 0.15) และด้านกฎหมาย (PNIModified = 0.10)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). CSR ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังห่างไกลจากความยั่งยืน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.kriengsak.com/issues/csr-3 (มกราคม 2560, 15)

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา บุญบงการ. (2554). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ภาวะผู้นำในองค์การ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน

ฐิณีวรรณ วุฒิวิกัยการ. (2555). การพัฒนาหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. RMUTT Global Business and Economics Review.

ดวงทิพย์ อันประสิทธิ์. (2555). รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน. กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นภาพร เผ่าผา. (2554). การศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารอิเล็กทรอนิคส์ทางการศึกษา. OJED, 7(1), 1924-1938.

ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. กรุงเทพฯ: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

ยศสราวดี กรึงไกร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(4), 1784-1795.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สมพงษ์ ยิ่งเมือง และคณะ. (2561). การศึกษาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สมาน อัศวภูมิ. (2553). เอกสารการสอนวิชาหลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551. กรุงเทพฯ: เพลิน สตูอิโอ.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

Bovee, C. L., Thill, J. V., Wood, M. B., & Dovel, George P. (1993). Management. New York: McGrow-Hill.

Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward The Moral Management of Organization Stakeholders. Business Horizons. 34(4), 39-48.

EU Commission. (2001). Green Paper - Promoting a European framework for Corporate Social Responsibility. COM (2001). Hoboken, New Jersey. Canada

International Organization for Standardization.The (ISO). (2010). ISO26000: Guidance on social Responsibility International Standard. Geneva. International Organization for Standardization.

Philip, K. & Nancy, L. (2005). Corporate Social Responsibility. Doing the Most for your Company and your cause. John Wiley & Sons.

United Nations Development Program (UNDP). (2015). GOVGERNANCE. [Online] Available: https://mirror.undp.org.( March 2015, 28)

United Nations. (2012). From Rio to Rio + 20 : Progress and challenges since the 1992 Earth Summit. In Rio de Janero: United Nations Conference on Sustainable Development (Fact Sheet). Brazil: UNCSD 2012.org

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020