การศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วิษณุ สุทธิวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์, ปรัชญาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 243 คน ที่มีเพศและระดับชั้นแตกต่างกัน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อ .22 - .74 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test (Two - way MANOVA และ ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนโดยส่วนรวม จำแนกตามเพศ และระดับชั้นมีการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด 2) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและระดับชั้นต่อการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่มีเพศและระดับชั้นต่างกันมีการรับรู้ 2 ด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและระดับชั้นต่อการรับรู้ที่ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่มีเพศและระดับชั้นต่างกันมีการรับรู้ที่ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพศชาย มีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนกลุ่มอื่น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ชำนาญ อินทรสมบัติ. (2542). การเปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

ประยูร อาษานาม. (2528). คู่มือการวิจัย. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปราโมทย์ อินทรบำรุง. (2544). การศึกษาความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมลมาศ นุสีวอ. (2560). การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเพศและขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2545). ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนสืบเสาะ (Inquiry Approach). มหาสารคาม: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เยาวลักษณ์ จินตนสถิตย์. (2544). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักศึกษานอกระบบโรงเรียนสายสามัญที่เรียนโดยวิธีเรียนแบบทางไกลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). เกี่ยวกับโรงเรียน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://satitvru.ac.th/introduction-th (2561, 27 พฤศจิกายน).

วิษณุ สุทธิวรรณ. (2560). การเปรียบเทียบการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2018. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12 (2561, 5 พฤศจิกายน).

American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1993). Benchmarks for science literacy. New York: Oxford University Press.

Abell, S. K. & Smith, D. C. (1994). What is Science? : Preservice Elementary Teachers’ Conception of the Nature of Science. International Journal of Science Education. 16(4), 475-487.

Akindehin, F. (1988). Effect of an Instructional Package on Preservice Science Teachers Understanding of the Nature of Science and Acquisition of Science-Related Attitudes. Science Education. 72(1), 73-82.

Duschl, R. A. (1988). Abandoning the Scientistic Legacy of Science Education. Science Education. 72(1), 51-62.

Erickson, G. L. & Erickson, L. J. (1984). Females and science achievement: Evidence, explanations, and implications. Science Education. 68(2), 63-89.

Hofstein, A. & Yager, R. E. (1982). Societal Issues as Organizers for Science Education in the 80’s. School science and Mathematics. 82(7), 539–547.

Laforgia, J. (1988). The Effective Domain Related to Science Education and It’s Evaluation. Science Education. 72(4), 407-421.

Pomeroy, D. (1993). Implications of Teachers’ Beliefs About the Nature of Science: Comparison of the Belifs of Scientists, Secondary Science Teachers, and Elementary Teachers. Science Education. 77(3), 261-278.

Raghubir, K. P. (1979). The Laboratory Investigative Approach to Science Instruction. Journal of Research in Science Teaching. 16(1), 13-17.

Schibeci, R. A. (1983). Selecting Appropriate Attitudinal Objectives for School Science. Science Education, 67(5), 595-603.

Speece, S. P. (1986). Teaching in the Year 2000. The Science Teacher. 53(6), 54-58.

Wheatley, G. H. (1991). Constructivist perspectives on science and mathematics learning. British Journal of Educational Technology. 73(1), 87-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020