เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ระหว่างหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า หลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ระหว่างหลักสูตรไทยจำนวน 120 คน และหลักสูตรนานาชาติจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ Independent T-test
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 206 คน เป็นชาย 9 คนคิดเป็น 4.36 % เป็นหญิง 197 คน คิดเป็น 95.64 % อายุเฉลี่ย 22 ปี มีจำนวน 196 คน คิดเป็น 95.20 % ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร พบว่า ค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านของหลักสูตรนานาชาติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าหลักสูตรไทยแต่ค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตรไทยมีค่ามากกว่าหลักสูตรนานาชาติ ทั้งสองกลุ่มมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อยมาก (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.51-0.58) จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่าค่าเฉลี่ยด้านนักศึกษา การจัดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลและสมรรถนะที่พึงประสงค์ ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของเนื้อหาหลักสูตรและภาวะซึมเศร้า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พบว่าหลักสูตรไทยปัจจัยด้านนักศึกษาและสมรรถนะที่พึงประสงค์มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าส่วนหลักสูตรนานาชาติพบว่าสมรรถนะที่พึงประสงค์มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้หลักสูตรไทยมีภาวะซึมเศร้า ระดับน้อยถึงปานกลางจำนวน 28 คน คิดเป็น 23.30 % และหลักสูตรนานาชาติมีระดับซึมเศร้าระดับน้อยจำนวน 22 คน คิดเป็น 25.58 %
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
- ควรมีการศึกษาภาวะซึมเศร้าในทุกชั้นปีเพื่อให้คำปรึกษาช่วยเหลือได้ทันต่อการการเกิดเหตุการณ์
- ควรประเมินหลักสูตรทุกชั้นปีเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
References
ความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา” วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59 (1) หน้า 29-40.
กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2561). แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9.สืบค้นจาก
https://med.mahidol.ac.th/th/depression.
นฤมล สมรรคเสวี และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(3), 11-27.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภร, และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 12-26.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และ พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Eman Dawood, Rufa Mitsu, Hind Al Ghadeer, Fatimah Alrabodh .(2017). Assessment of Depression and Its Contributing Factors among Undergraduate Nursing Students. International Journal of Nursing, Vol. 4, No. 2, pp. 69-79.
Fatemeh Rezayat, MSc; Nahid Dehghan Nayeri, PhD.( 2014). The Level of Depression and Assertiveness among Nursing Students. Department of Psychiatric Nursing, Tehran University of Medical Sciences, Tehran, Iran;Nursing and Midwifery Care Research Center, School of Nursing and Midwifery, Tehran University of Medical Sciences, Tehran, Iran.
Mohannad Eid Abu Ruz, Hekmat Yousef Al-Akash and Samiha Jarrah. (2018). Persistent (Anxiety and Depression) Affected Academic Achievement and Absenteeism in Nursing Students. The Open Nursing Journal.
Risal A, Sanjel S, Sharma PP. (2016). Study of Depression among the Nursing Students in a University Medical College of Nepal. VOL. 14 /NO. 3 / ISSUE 55 / JULY-SEPT. 2016
Sarath Rathnayake. (2016). Depression, Anxiety and Stress among Undergraduate Nursing Students in a Public University in Sri Lanka. International Journal of Caring Sciences September – December 2016 Volume 9 | Issue 3| Page 1020.
Wilson, P.H. Spence, S.H. and Kavanagh, D.J. (1989) .Cognitive-behavioral interviewing for adult disorders: A practical handbook. Baltimore: The Johns Hopkins University Press. (10 Jan 2013) อ้างถึงใน ปรียารัตน์ แขมคำ. (2554) ผลของโปรแกรมสุขภาพจิต ศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (สาขา การพยาบาลสุขภาพจิตและและจิตเวช) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์