ผลการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่, ทักษะศตวรรษที่ 21, หลักสูตรฝึกอบรมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้นเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ นักศึกษาฝึกสอนประสบการณ์วิชาชีพครูปีที่ 3-5ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่สนใจสมัครเข้ารับการอบรม จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1)แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงร่างรูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เชี่ยวชาญ 2)แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านความรู้ของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 3)แบบสังเกตสมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 โดยวิทยากรประจำกลุ่ม 4)แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล 5)แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบค่าที (Independent t-test)ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังการใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกสมรรถนะ และ 2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับ มาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ. (2537). คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2540). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
พร้อมพรรณ อุดมศิลป์. (2544). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้นต์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). เล่มที่ 136 ตอนที่ 51 วันที่ 18 เมษายน 2562”
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). รายงาน ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกที่เหมาะสำหรับการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะคนไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
Burton, N., & Middlewood, D. (2001). Managing the curriculum. London: Paul.
Dubois, D D. et.al. (2004). Competency-Based Human Resource Management. The United State of America: Davies-Black Publishing.
Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavioral Research. (3rd ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.
Ornatein, A. C. & Hunkins, F. P. (2004). Curriculum-foundation, principles and issues. (4th ed). Boston: Allyn and Bacon. CPP.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์