พฤติกรรมการเข้าชมและความพึงพอใจด้านการตลาดต่อจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี ยุธานุสรณ์ โครงการปริญญาโทสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นิรันดร ทัพไชย ภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเข้าชม, ความพึงพอใจด้านการตลาด, จัตุรัสวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

           การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจด้านการตลาดต่อจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. และ 3) ศึกษาความพึงพอใจด้านการตลาดต่อจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าชม กลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้าชมจัตุรัสวิทยาศาสตร์ 400 คน โดยวิธีการสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และความแปรปรวนทางเดียว

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าชมจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เป็นครั้งแรก โดยเข้าชมวันเสาร์ –อาทิตย์ เวลา 12.00-14.00 น. ได้รับข่าวสารจากเพื่อน/คนรู้จัก วัตถุประสงค์การเข้าชมคือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มาพร้อมกับครอบครัว/ญาติ และค่าใช้จ่ายประมาณ 100-300 บาท มีความพึงพอใจด้านราคามากที่สุด ด้านบุคลากร สถานที่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ กระบวนการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานผู้เข้าชมที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานที่พักอาศัย และรายได้ แตกต่างกัน มีความพึงพอใจด้านการตลาดต่อจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ที่แตกต่างกัน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลทิกา วิบูลย์ปิ่น และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(1), 74-88.

จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร. (2560). ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรวรรณ ดีประเสริฐ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(3), 41-49.

พิมพาพร งามศรีวิเศษ. (2555). ปัจจัยส่วนประสมด้านการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวสวนสัตว์ดุสิตและสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ของนักท่องเที่ยว. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ละอองทิพย์ ณ ถลาง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดรับเครื่องมือส่วนผสมทางการตลาดกับระดับการรับรู้บุคลิกภาพตลาดย้อนยุคเพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ละเอียด ศิลาน้อย และสุภาวดี สุทธิรักษ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษาสวนสละอาทิตย์อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว. 10(2), 47-59.

วิไลวรรณ ศิริอำไพ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง (ถนนคนเดินตรอกโรงยา) จังหวัดอุทัยธานี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุจิตรา เขื่อนขันธ์. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการโครงการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปี 2561 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.nsm.or.th/images/Annual_Report_2018.pdf.

Kratz, S., & Merritt, E. (2011). Museums and the future of education. On the Horizon. 19(3), 188 -195.

Poon, W. C., & Lock-Teng Low, K. (2005). Are travellers satisfied with Malaysian hotels?. International Journal of Contemporary Hospitality Management. 17(3), 217-227.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020