สภาพปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดสู่การเป็นวัดสีเขียว
คำสำคัญ:
การจัดการสิ่งแวดล้อม, วัดสีเขียวบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดสู่การเป็นวัดสีเขียว และ 2) เปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดกับเกณฑ์วัดสีเขียว โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม โดยกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามระยะการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สภาพปัญหาของการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดสู่การเป็นวัดสีเขียว และระยะที่ 2 เปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดกับเกณฑ์วัดสีเขียว ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าคณะอำเภอ 11 อำเภอของจังหวัดชลบุรี จำนวน 11 รูป เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดในจังหวัดชลบุรี พบดังนี้ 1) ปัญหาด้านความสะอาด ความเป็นระเบียบ และการจัดการพื้นที่ที่ถูกหลักสุขาภิบาล 2) ปัญหาด้านพื้นที่สีเขียว รวมถึงการบำรุงรักษาต้นไม้ให้มีปริมาณมาก 3) ปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้วัดเป็นแหล่งสะสมมลพิษ รวมถึงการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย กลิ่น ควันธูป เมรุเผาศพ ส่วนมลพิษทางเสียง เช่น การจัดกิจกรรมหรืองานประเพณี และมหรสพในวัด เป็นต้น 4) ปัญหาด้านการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ไม่มีการรณรงค์ลดมลพิษในการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ และ 5) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนกับวัด โดยวัดไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ถ้าไม่มีคนในชุมชนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
- การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดในจังหวัดชลบุรี ในภาพรวมเปรียบเทียบกับเกณฑ์วัดสีเขียว พบว่า อยู่ในระดับน้อย ซึ่งทำได้เพียงร้อยละ 34.76 โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านศาสนบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.70 ด้านศาสนวัตถุ อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 35.86 และด้านศาสนธรรม อยู่ในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 19.09 ตามลำดับ
คำสำคัญ: การจัดการสิ่งแวดล้อม, วัดสีเขียว
References
เดชา บัวเทศ และนิเทศ สนั่นวารี. (2558). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จังหวัดสระบุรี. ธรรมทรรศน์. 15(2), 77-85.
นภาพร ทรัพย์โสภา. (2551). การบริหารจัดการวัดเพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา:
วัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและวัดชลประทานรังสฤษฏ์ จังหวัดนนทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระประเสริฐ เพชรโสม และคณะ. (2558). การใช้เกณฑ์วัดสีเขียว: ความรู้ เจตคติ และความ
พึงพอใจต่อเกณฑ์วัดสีเขียว. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา-สสศท. 6(12), 119-127.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2555). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พร๊นติ้งเฮ้าส์.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2553). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน.
สุกัลยา โหราเรือง. (2560). พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาทางนิเวศวิทยาอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 12(1), 223-235.
สุริชัย หวันแก้ว (2553). สี่องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมศึกษา การเรียนรู้เพื่อความพอเพียง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์