การจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ชมรมดนตรีสร้างสรรค์, GPAS 5 Steps, ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์ โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps และ 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps 3) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติดนตรีสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps4) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เลือกเรียนชมรมดนตรีสร้างสรรค์ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนแบบคละผลการเรียนและเลือกเรียนตามความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์ แบบวัดความรู้ดนตรีสร้างสรรค์ แบบวัดทักษะการปฏิบัติดนตรีสร้างสรรค์ แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.49)
2. ความรู้ดนตรีสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะการปฏิบัติดนตรีสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.51) และสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.49) และสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษฎา กองสวรรค์. (2558). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(1): 14-29.
จุลพจน์ จิรวัชรเดช และคณะ. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ใช้รูปแบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับเทคนิคกระบวนกรในรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมโยธา. ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชลธาร เต็งเจริญกุล. (2558). การศึกษาผลการพัฒนาความคิดและผลงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมศิลปะกระดาษ สร้างสรรค์ของผู้เรียนระหว่าง 10-12 ปี โดยใช้แนวคิดสังคมอุดมฮัก (GCK4S). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(1): 200-218.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พงศธร ห้องแซง และคมกริช การินทร์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนกีตาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(2): 85-96.
พรทิพย์ สายแวว กระพัน ศรีงาน และโกวิท วัชรินทรางกูร. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องโน้ตดนตรีสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8(1): 85-96.
ภีระเมศร์ ประสิทธิเมธี มีช้าง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วงปี่พาทย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อสร้างและใช้นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) สำหรับครูและผู้บริหารสถานศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากลเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
วรรณวุฒิ วรรณารุณ. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของโคไดที่มีต่อทักษะทางดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สกศ.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุวธิดา ล้านสา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์