ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับฟัง ความคาดหวัง ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จารุกิตต์ ขวัญมงคลพงศ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
  • จันทิมา ศิริ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • กิตติ อัปสรภาสกร นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การเปิดรับฟัง, ความคาดหวัง, ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังมีความสัมพันธ์กับผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์กรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์กรุงเทพมหานคร 4) ศึกษาการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์กรุงเทพมหานคร และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์กับการใช้ประโยชน์จากรายการวิทยุออนไลน์กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาครั้งนี้โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 15 ปี - 24 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนโดยเฉลี่ย 5,000 - 10,000 บาท สถานภาพโสด ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนคลื่นวิทยุที่รับฟังในแต่ละวัน 2 คลื่น ซี่งมีการรับฟังรายการวิทยุออนไลน์บ่อยครั้ง 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ โดยมีเวลาในการรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ 3 - 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมีการรู้จักรายการวิทยุออนไลน์ 3 - 4 ปี และการรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ในลักษณะใดฟังเฉพาะช่วงที่เปิดเพลง โดยมีการรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ที่ทำงาน/สถานศึกษา ซึ่งมีการรู้จักรายการวิทยุออนไลน์เข้าสู่เว็บไซต์โดยบังเอิญ โดยมีวัตถุประสงค์การรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและชื่นชอบแนวเพลงรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ Pop โดยมีการรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ ในช่วงเวลา 08.01 - 12.00 น.
ด้านการเปิดรับ ความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ มีผลการวิจัย พบว่า ด้านรูปแบบรายการวิทยุออนไลน์ที่ให้ข่าวสาร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ อยู่ในระดับ มาก ได้แก่ รายการข่าวสั้นต้นชั่วโมง และมีในด้านรูปแบบรายการวิทยุออนไลน์ที่ให้สาระความรู้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ รายการเพลงไทยสากล และมีในด้านความคาดหวังต่อรายการวิทยุออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ อยู่ในระดับ มาก ได้แก่ การใช้ภาษาและการอ่านออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
ด้านความพึงพอใจที่ได้รับจากรายการวิทยุออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของนักจัดรายการ
ด้านการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ได้สาระ ความรู้และประโยชน์
ด้านการเปิดรับฟังรายการวิทยุออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากรายการวิทยุออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.

กิติมา สุรสนธิ. (2547). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กำพล ดวงพรประเสริฐ. (2549). ความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ฟังในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการรับฟังรายการที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เอฟ. เอ็ม. 89.5 MHz. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กำพล ดวงพรประเสริฐ. (2558). ความต้องการรูปแบบรายการวิทยุอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์.

ชัชฏา สุขามาลวงษา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมของประชาชนในการรับฟังวิทยุรายการร่วมด้วยช่วยกัน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน (หน่วยที่ 11). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณฤทธิ์ พรับจุ้ย. (2552). ความคาดหวังของผู้ฟังรายการวิทยุออนไลน์ของสถานีวิทยุ แม็กซ์ 94.5 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุตรี ลิขิตจริยานนท์. (2559). การเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้ฟังคลื่นวิทยุออนไลน์ แคทเรดิโอ. วิทยานิพนธ์ สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษบา หินเธาว์. (2549). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิจัย คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พัชอร บุญรัตนกรกิจ. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน (หน่วยที่ 9). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พีระ จีรโสภณ. (2540). เอกสารการสอนชุดทฤษฎีการสื่อสาร (หน่วยที่ 9 – 15). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภานุวัณน์ เจริญสุข. (2558). โครงการ Icon radio วิทยุออนไลน์ที่จะทำให้คุณรู้เท่าทัน อย่างบันเทิง. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรือง สมนึกตน. (2548). การศึกษาความนิยมที่มีต่อรายการของสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป จังหวัดอุบลราชธานี.

ศลิลนา ภู่เอี่ยม. (2546). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ฟังรายการ 104.5 Fat Radio. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2557). จริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อไทยในยุคดิจิทัล. วิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สุทิติ ขัตติยะ. (2555). ศาสตร์การเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา กรมประชาสัมพันธ์.

สุทิติ ขัตติยะ และวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2552). พฤติกรรมการรับฟังและความพึงพอใจต่อรายการและเทคนิคของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2547). สังคมข่าวสาร สื่อ และการพัฒนาการสื่อสารในอนาคต. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cronbach, J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc-GrawHill.

Hall, J. (2005). Television and Positive Ageing in Australia. PhD thesis, Murdoch University.

Hinkle, D. E, William, W. & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed). New York: Houghton Mifflin.

Komarova. (2004). The Content of Music Radio Websites. Master’sthesis, UniversityofMis souri Columbia. MAI.

Razlogova. (2004). The Voice of the Listener: Americans and the Radio Industry, 1920 – 1950. Thesis Ph. D. George Mason University.

Simon, K. (2017). Digital in 2017 Global Overview. We Are Social and Hootsuite. [Online], Available: https://www.slideshare.net/wearesocialsg/digital- in2017-global-overview (20117, 13 June).

Stockmann, D. C. (2007). Propagandas for Sale: The Impact of Newspaper Commercialization on News Content and Public Opinion in China.

Vincent & Basil. (1997). College Students’ News Gratifications, Media Use, and Current Events Knowledge.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021