การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กนกอร อุ่นสถานนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหาร, การบริหารด้านความปลอดภัย, ความปลอดภัยของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และเสนอแนวทางการบริหาร ด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการเทียบสัดส่วนจากประชากรตามขนาดของสถานศึกษา และการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 361 คน และทำการเลือกแบบเจาะจงในผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ในการตอบแบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ F-test ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  2) การเปรียบเทียบการบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีการบริหารด้านความปลอดภัยแตกต่างกันทั้งโดยภาพรวม และรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ด้านการให้บริการ ความปลอดภัย ด้านการจัดสวัสดิศึกษา และด้านสุขภาพอนามัย มีค่า p-value เท่ากับ 0.02, 0.04, 0.00, 0.00 และ 0.05 ตามลำดับ 3) แนวทางการบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร คือ ควรมีการตรวจสอบสภาพอาคารให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ควรจัดให้มีป้ายหรือสัญลักษณ์เตือนในบริเวณที่จะเป็นอันตราย ควรจัดทำคู่มือ การบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ควรสำรวจและจัดทำข้อมูลแหล่งมั่วสุมและแหล่งอบายมุขรอบ ๆ สถานศึกษา และควรจัดประชุมวางแผนการดำเนินการด้านสุขภาพอนามัยของบุคลากรและผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2561). รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนกานต์ สกุลแถว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเคมีของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์สุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและ ความปลอดภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติมา แก้วคำแสง. (2559). ความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บรรจง พลไชย. (2555). ภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข มหาวิทยาลัยนครพนม.

ปราณี อินทรักษา. (2554). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. (2546, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1 - 29.

พัชรา ก้อยชูสกุล และคณะ. (2559). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(2), 177.

สุชีรา ใจหวัง. (2560). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ศรัณยา บุญประกอบ. (2549). การศึกษาการจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพรรณ เกตุแก้ว. (2558). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อินทิรา บริบูรณ์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Chinekesh, A. (2017). Exploring the youth experience about sense of social security: a qualitative study. Electronic Physician. 9(12), 6019-6020.

Johnson, S. L. (2015). Prioritizing the School Environment in School Violence Prevention Efforts. Author manuscript. 81(6): 5-6.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Mazur, J. (2017). Determinants of Bullying at School Depending on the Type of Community: Ecological Analysis of Secondary Schools in Poland. School Mental Health. 9(132): 136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020