การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการสอบคัดเลือกด้วยวิธีรับตรงและวิธีรับกลาง กรณีศึกษา หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรง, การสอบคัดเลือกโดยวิธีรับกลาง, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงและวิธีรับกลาง และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการคัดเลือกโดยวิธีรับตรงและวิธีรับกลาง กรณีศึกษา หลักสูตร อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมจากแบบบันทึกผลการเรียนของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกมีจำนวน 149 คน ประกอบด้วยนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีรับตรง 115 คน (ร้อยละ 77.18) และวิธีรับกลาง 34 คน (ร้อยละ 22.82) ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีรับตรงและวิธีรับกลางไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (r = 0.588-0.996) แม้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีของนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสองวิธีจะไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนการรับนักศึกษา และการวางแนวทางเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่อไป
References
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2562). สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://osh.labour.go.th/images/PDF/2019/01/93/93-6.pdf. (2563, 15 มีนาคม).
กาญดา คันศร และธารัตน์ กิตติตระการ. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เข้าศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2552. วารสารสาระคาม. 6(1): 1-17.
กุสุมา ยกชู. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการสอบ GAT และ PAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เขตห้วยขวาง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฏฐิรา สุขสุเดช, ชนิกานต์ อัตตปัญญา, ภัสสุภางค์ วีระเพียรดี และอัษฐรัศ สิทธิศาสตร์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาทันตแพทย์ (โครงการรับตรงจากผู้สำเร็จปริญญาตรี) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 68(3): 204-217.
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (2563). ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2563. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mytcas. com/news/tcas63-v8. (2563, 31 ธันวาคม).
นีลนารา ศรีสำราญ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรงและวิธีรับผ่านส่วนกลาง ปีการศึกษา 2551-2554. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(2): 65-96.
ปฐมา อาแว, มนสิการ เปรมปราชญ์, และพิศมัย เพียรเจริญ. (2553). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยและผลการเรียนระดับ มหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2546-2550. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
พเยาว์ ดีใจ, พจนีย์ บุญนา, รติกานต์ ห้วยหงส์ทอง, อองาม เปรมสุข และอังสนา อนุชานันท์. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีประเภทโควตาและการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 1-23.
เยาวนา เสสสระ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบเข้า มหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ รุ่นปีการศึกษา 2551-2553. วารสารวิชาการ ปขมท. 5(2): 15-21.
รวีวรรณ งามสันติกุล. (2558). การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาแบบสอบตรง. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้. 6(2): 127-140.
ราตรี ธรรมคำ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกระบบมหิดลรับตรงและระบบกลาง กรณีศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 4(August 2560): 9-17.
วีราวัลย์ จันทร์ปลา, แคชรินทร์ ทับทิมเทศ และวัลวิกา สัตถาวร. (2555). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาลักษณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิริมา เขมะเพชร. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9(1): 152-162.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). หลักสูตรที่ผ่านการรับทราบจาก สกอ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.mua.go.th/users/bhes/MUA_CURR /Curr Cer3.html. (2563, 15 มีนาคม).
สุจิตรา สุคนธมัต. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 21(2): 16-35.
Vulperhorst, J., Lutz, C., de Kleijn, R., & van Tartwijk, J. (2018). Disentangling the predictive validity of high school grades for academic success in university. Assessment & Evaluation in Higher Education. 43(3): 399-414.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์