พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษา จังหวัดอุดรธานีในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร, ความตระหนักรู้, โควิด-19, การรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

จากการศึกษาวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษาจังหวัดอุดรธานีในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,121 คน ในระหว่างวันที่ 14 - 17 เมษายน 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด-19 ของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด-19 ของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียน นักศึกษาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 ทุกวัน วันละ หลาย ๆ ครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.7 พบติดตามข่าวสารน้อยกว่า 30 นาทีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.6 สื่อที่นักเรียน นักศึกษาติดตามมากที่สุดคือ สื่อโซเซียลมีเดีย คิดเป็นร้อยละ 79.7 โซเซียลมีเดียที่นิยมมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก คิดเป็นร้อยละ 63.8 ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 แล้วอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.1 นักเรียน นักศึกษาได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 แล้วมีพฤติกรรมคืออยู่บ้านไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73
ด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า นักเรียนนักศึกษา มีความตระหนักรู้อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง มีค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมาคือ การติดตามข่าวเป็นเรื่องที่ต้องทำ มีค่าเฉลี่ย 4.57 การเลื่อนเปิดเทอมป้องกันโควิดได้ มีค่าเฉลี่ย 4.52 ส่วนความตระหนักรู้ที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ มีค่าเฉลี่ย 4.49 การล้างมือด้วยสบู่ของท่านจะใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที มีค่าเฉลี่ย 4.47 ตามลำดับ
นักเรียน นักศึกษาพบปัญหามากที่สุด คือ หน้ากากอนามัยไม่สามารถหาซื้อได้ตามที่รัฐกำหนด คิดเป็นร้อยละ 76.3 รองลงมาคือ รัฐเยียวยาอาชีพที่ประสบปัญหาในช่วงโควิดไม่ทั่วถึง คิดเป็นร้อยละ 65.2 ตามลำดับ

 

References

ชนิตา รุ่งเรือง. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง ความตระหนักเกี่ยวกับการรับบริการด้านสุขภาพจิตของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐนรี ไชยภักดี. (2552) การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการ 7 สี ปันรักให้โลก ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พนม คลี่ฉายา. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูสุจิณเขมคุณ เขมาภิรโต (ฤทธิ์แคล้ว). (2561). ศึกษาคุณค่าประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาวิณี น้อยช่างคิด. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวและความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านเฟซบุ๊กของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชาญ ปาวัน. (2560). การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2559. Journal of Health Science Research. 11(1), 70-79.

วรรณา เจือรัตนศิริกุล.(2531) อิทธิพลของรายการโทรทัศน์ที่มีต่อความตระหนักในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.

เว็บมาสเตอร์สปริงนิวส์. (2563). ความตระหนักรู้ในตนเองคือทักษะสำคัญของชีวิต. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.springnews.co.th/alive/571295 (2563, 3 เมษายน).

เว็บมาสเตอร์บีบีซีนิวส์. (2563). ไวรัสโคโรนา: ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกัน โรคโควิด-19. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/features-51734255 (2563, 9 เมษายน).

Schramm, W. (1973). Channels and Audiences in Handbook of Communication. Chicago: Rand Mcnelly Colledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021