การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • เนาวรัตน์ ช่างเครื่อง ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อรสา จรูญธรรม ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, สุขภาพองค์การ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย คือ ขั้นที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา ด้วยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากหนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินการจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นที่ 2 ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 1,060 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ 53 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การสร้างทีมผู้นำ มี 7 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 2 การสร้างความชัดเจนขององค์การ มี 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารขององค์การ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การเสริมสร้างองค์การ มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 สิ่งแวดล้อมขององค์การ มี 6 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 6 ความสำเร็จขององค์การ มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 7 การมุ่งเน้นวิชาการ มี 7 ตัวบ่งชี้
          2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดองค์ประกอบตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า RMSEA = 0.066, RMR = 0.0038, NFI=0.97, CFI = 0.98 และค่า CN = 228.51

References

กมลาศน์ ศรประสิทธิ์. (2553). การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพองค์การของโรงเรียน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

แก้วขวัญ เอียดศิริพันธ์. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรังเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคน สร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เต๋า (2000).

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณรักธรรม. (2540). การพัฒนาและฝึกอบรม: ศึกษาเชิงพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อาทิตยา ดวงมณี. (2548). ทิศทางการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาของนานาประเทศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(2): 1-9.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (1998). Multivariate data analysis. (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Hoy, W. K. & Feldman, J. A. (1987). Organizational Health: The Concept and its Measure. Journal of Research and Development in Education. 20(4), 30-37.

Kimel, M. B. (2003). Focus group methodology. Paper presentation prepared for the FDA Drug Safety & Risk Management Advisory Committee Meeting, Gaithersburg, Maryland, December 4, 2003.

Kotter, J. P. (1992). Power, Success and Organizational Effectiveness, Organizational Dynamics. Boston: Pws-Kent.

Miles, M. B. (1973). Planned change and organizational health: figure and ground in educational administration the behavioral science: a system perspective. Boston: Allynord Bacon.

Mohsen, F. F., Mohammad, H. M., Naghi, R. A. & Sayed saied, M. (2014). The Study of The Relationship of Organizational Health of the Schools and that of the Student’s Academic Achievement. Journal of Social and Behavioral Sciences. 109: 628-633.

Worren, W. B. & Worren, H. S. (1971). Management and Organization Development. Personnel Administration. 34: 45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020