การจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning) ร่วมกับ ผังมโนทัศน์ (Mind map) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน จับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เขียงฮ่อน แขวงไชยบูลี สปป. ลาว
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์, การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ, ความสามารถในการอ่านจับใจความบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่าน แบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์เชียงฮ่อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์เชียงฮ่อน แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียน จำนวน 4 หน่วย และ 2) แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยการเรียนรู้โดยการสร้างแผนผังมโนทัศน์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้รูปแบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยบทเรียน จำนวน 4 หน่วย ๆ ละ 4 ชั่วโมง คือ หน่วยการเรียนที่ 1 : The times หน่วยการเรียนที่ 2 : Describing people หน่วยการเรียนที่ 3 : Clothing และ หน่วยการเรียนที่ 4 : The past และประกอบด้วยแบบฝึกจำนวน 8 แบบฝึก ได้แก่ แบบฝึกที่ 1 Somphorn’s daily routine แบบฝึกที่ 2 Kids and their daily แบบฝึกที่ 3 Describing people แบบฝึกที่ 4 My fabulous sister แบบฝึกที่ 5 Thong phet แบบฝึกที่ 6 Fashions แบบฝึกที่ 7 What did they do last weekend และ แบบฝึกที่ 8 Oudom and Sengchanh had nice weekend
โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าแบบฝึกดังกล่าวมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และแบบฝึกดังกล่าวมีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.79/70.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกการอ่านรูปแบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 70.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์เขียงฮ่อน แขวงไชยบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ BBL ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
References
กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณท์.
กุลธิดา แก้วตาบุศย์, ผาสุข บุญธรรม และสุดาพร ปัญญาพฤกษ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สิทธิกรณ์. (2562). การจัดการเรียนการสอน แบบ BBL (Brain Based Learning). [Online], Available: http://www.birdkm.com/outside-classroom/outsideclass/brain-based-learning (2562, 1 ตุลาคม).
อำไพ เกตุสถิต. (2545). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Caine, R. & Caine, G. (1989). 12 Principles for brain based learning). [Online], Available: http://www.nea.org/teachexperiance/braik030925.html (2562, 1 ตุลาคม).
Foley, A. E. (1987). The Effect of a Mapping Trianing Program on the Reading Comprehensive of Middle School Students. Disssertation AbstractsInternational. (23 October 2562), 454-455.
Jensen, E. (2000). Brain-Based learning-A Reality Check. Educatoinal leader leadership. 57(7): 76-79.
Kalhor, M. & Shakjbaei, G. (2012). Teaching Reading Compresion Through Concept Map. Life Science Journal. 9(4): 725-731.
Sprenger, M. (1999). Learning and Memory: The Brain in Action. Alexandria, Viginia: ASCD.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์