การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เขื่อนแก้ว

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมดนตรี, ไทยวน, สระบุรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และองค์ความรู้ทางดนตรีของชุมชนไทยวน อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี และ 2) วิเคราะห์ปรากฏการณ์การรับวัฒนธรรมดนตรีของชุมชนไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยมีขอบเขตในการศึกษาเฉพาะพื้นที่ดังกล่าว โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีแบบแผน และไม่แบบแผนซึ่งได้รับการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลผู้วิจัยคัดเลือกจากคนในชุมชน ผู้นำชุมชน  และปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนต้นตาล จังหวัดสระบุรี 3 คน เจ้าอาวาสวัดต้นตาลอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 1 รูป ประธานสภาวัฒนธรรม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 1 คน ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 1 คน และปราชญ์ชาวบ้าน 1 คน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์การในจัดกิจกรรมของชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์วัฒนธรรมดนตรีของชุมชนชาวไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
         ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมดนตรีไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี สามารถ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) วัฒนธรรมดนตรีและการขับร้องที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ได้แก่ การร้องเพลงจ๊อยการร้องเพลงร้องเล่นเด็ก และเพลงกล่อมเด็ก และกลองเทิ่ง 2) วัฒนธรรมดนตรีและการขับร้องที่รับมาจากชุมชนใกล้เคียง ได้แก่การเล่นรำโทน การตีกลองเพล และกลองสูตรช่วงเข้าพรรษา
3) การนำดนตรีพื้นเมืองที่รับมาจากภาคเหนือของประเทศไทยและ 4) การรับวัฒนธรรมดนตรีสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความรู้สึกของกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทยวนอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้แก่ เพลงไทยวนย้ายถิ่น ซึ่งที่กล่าวถึงการอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์จากเมืองเชียงแสน (โยนก) ในภาคเหนือลงมายังภาคกลางของประเทศไทย

References

กฤษฏิ์ ชัยสินบุญ. (2561). สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2546). ยุคแรกเริ่ม. [ออนไลน์], เข้าถึงจาก: https://thai.tourismthailand.org. (2561, 8 มกราคม).

กิตติมา ดิษฐคลี. (ม.ป.ป.). ไทยวน สระบุรี แผ่นพับ. สระบุรี: หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนสระบุรี.

จักรพงศ์ แดงหนู. (2561). สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.

ชมพู กิตฺติธโร. (2562). พระอธิการ. สัมภาษณ์, 11 พฤศจิกายน 2562.

พุฒ เตโช. (2561). สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.

ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วงเดือน ยะกุล. (2561). สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.

สงกรานต์ หนูแก้ว. (2562). สัมภาษณ์, 11 พฤศจิกายน 2562.

สมจิต ยะกุล. (2562). สัมภาษณ์, 11 พฤศจิกายน 2562.

สายใจ คุณมาศ. (2560). การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านเจรียงเบริน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Matt, W. K. (1996). The Memory of the Modern. New York: Oxford University.

Unknown. (2557). ข้อมูลทางมนุษยวิทยาการดนตรี-นาฏศิลป์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020