แนวทางการจัดการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ ชูศรีโฉม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม                แก่นักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ                     2) นำเสนอแนวทางการจัดการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบสอบถามในการวิจัย จำนวน                 344 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตามสัดส่วนตามขนาดของแต่ละโรงเรียน มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α Coefficient) โดยรวมเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีการปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\alpha = 4.18)  2) แนวทางการจัดการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับนักเรียน ฝึกนิสัยการออมเงิน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนและบุคคลอื่น รู้จักการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยเสริมในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.digitalschool.club/digitalschool/social1 (2562, 26 ตุลาคม).

เกษม เสือสีนวล, ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนไก่ดี, โรงเรียนบ้านดอนไก่ดี. (2562). สัมภาษณ์, 13 ธันวาคม 2562.

ขวัญชัย เปรียบยิ่ง, ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม, โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม. (2562). สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม.

ชัชวาล เปลี่ยนขำ, ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง(แช่มประชาอุทิศ), โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง(แช่มประชาอุทิศ). (2562). สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม.

ไชยพร เรืองแหล้. (2556). บทบาทของสถานศึกษาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: opac.vru.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=1823860 (2562, 20 มิถุนายน)

เปรมวราพร พิณจิรวิทย์. (2558). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอนุบาล 1 โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยเป็นฐานโรงเรียนบ้านสามหลัง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พัชรินทร์ บุญเลิศ. (2557). ศึกษาวิธีการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนในโรงเรียน เขตจอมทองกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพรัช ลิ้มวิไล. (2562). ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่ากระบือ (ท่ากระบือพิทยาคาร), โรงเรียนวัดท่ากระบือ (ท่ากระบือพิทยาคาร). (2562). สัมภาษณ์, 26 ธันวาคม.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

สายรุ่ง พุทธา, ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม, โรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม. (2562). สัมภาษณ์, 13 ธันวาคม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (2562). การบริหารงานบุคคล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.home.skn.go.th/main/person.html. (2562, 25 สิงหาคม)

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2550). ปัญหาคุณธรรมด้านสภาพแวดล้อม นักเรียน/นักศึกษา ผู้บริหาร/ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2560). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021