สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

            สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นการแสดงออกในการ จัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการคิด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนผลของการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน จนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำในการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 2) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำที่แสดงออกในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 4) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำที่แสดงออกในการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ผู้เรียน การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล การใช้วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผล การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมประเมิน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=12972&Key (2563, 2 พฤษภาคม).

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(2): 45-56.

จรูญ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 22(2): 25-37.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(8): 130-143.

ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวนพิศ ศิลาเดช. (2559). การพัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2552). 10 ความสามารถหลักเพื่อก้าวเข้าสู่สุดยอดหัวหน้างาน. กรุงเทพฯ: ติงค์บียอน.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงชายแดน ไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดตาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (4): 123-132.

นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรูของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2): 1-13.

บัณฑิต ทิพากร. (2550). “การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา”. ใน ไพทูรย์ สินลารัตน์ บรรณาธิการ อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศธร มหาวิจิตร. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการประถมศึกษาโดยประยุกต์ ใช้แนวคิดการเรียนแบบเชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: วิจัยจากภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยศ สามเมือง. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(4): 133-141.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 9(1): 135-145.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ สำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). หลักสูตรฝึกอบรม (หลักสูตรกลาง) มาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา 9 มาตรฐาน ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท. 42(188): 3-6.

สุพิษ ชัยมงคล. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และนธี เหมมันต์. (2560). สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020