ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์: ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด แห่งกฎหมายอาญาไทยกับแนวคิดอทินนาทานแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • จิระศักดิ์ สังเมฆ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์, กฎหมายอาญาไทย, อทินนาทาน, พระพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ในกฎหมายอาญาไทย 2) ศึกษาแนวคิดอทินนาทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดกฎหมายอาญาไทยกับแนวคิดอทินนาทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท ภายในกรอบแนวคิด  3 ประการ คือ 1) การกำหนดลักษณะความผิด 2) การกำหนดลักษณะโจรกรรม และ 3) การกำหนดลักษณะโทษ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ด้านกฎหมายอาญาไทย ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 และประมวลกฎหมายอาญา และศึกษาเอกสารแนวคิดแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่คัมภีร์พระไตรปิฎกหรือคัมภีร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

          จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ประการแรก ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดกฎหมายอาญาไทยมีการกำหนดกรอบแนวคิด 3 ลักษณะ คือ 1) การกำหนดลักษณะความผิด เช่น เจตนาทุจริต  2) การกำหนดลักษณะโจรกรรม เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และ 3) การกำหนดลักษณะโทษ เช่น โทษหนักและโทษเบา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก เป็นต้น ตามวัตถุประสงค์การศึกษาประการที่สอง ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดอทินนาทานแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มีกรอบแนวคิดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ไว้ 3 ลักษณะ คือ 1) การกำหนดลักษณะความผิด เช่น มีเจตนาทุจริต 2) การกำหนดลักษณะโจรกรรม เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และ 3) การกำหนด ลักษณะโทษ เช่น โทษหนักและ โทษเบา และจากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ประการที่สาม ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดกฎหมายอาญาไทยกับแนวคิดอทินนาทานแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท มีความสอดคล้องในการกำหนดลักษณะความผิด เช่นมีการกำหนดลักษณะองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ “เจตนาทุจริต” มีการกำหนดลักษณะโจรกรรมสอดคล้องกัน เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และการกำหนดลักษณะโทษจะมีโทษหนักและโทษเบา ส่วนความแตกต่างที่สำคัญคือ กฎหมายอาญาไทยไม่ได้กล่าวถึง การลงโทษหลังความตาย แต่การลงโทษตามพระไอยการลักษณะโจรในกฎหมายตราสามดวง มีบทลงโทษที่รุนแรง เสมือนเป็นการลงทัณฑ์คนบาปในนรกคล้ายแนวคิดแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท

References

กำธร เลี้ยงสัจธรรม, (บก.). (2548). กฎหมายตรา ๓ ดวง เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2544). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ คริศณุ. (2552). ประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

หยุด แสงอุทัย. (2548). คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020