ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารงานบุคคล กับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารงานบุคคล, สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของแนวทางการบริหารงานบุคคล กับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาทั้งโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.33) 2) สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ตามมาตรฐานความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) และ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลกับสมรรถนะของ ผู้ประกอบวิชาชีพครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.41) ซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการนำข้อค้นพบไปเป็นแนวทาง ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาและส่งเสริมสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพให้เต็มตามศักยภาพยิ่งขึ้น
References
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2550). การประเมินจิตพิสัย การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). กฎกระทรวง เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.].
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2560. สมุทรสาคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2 หลักสูตรการพัฒนาครูโดยการสร้างระบบพี่เลี้ยง. แพร่: [ม.ป.พ].
โสภณ สวยขุนทด. (2557). การบริหารงานบุคคลด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการกับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sampling size for research activities. Education Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์