แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ตปนียทรัพย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 260 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตามสัดส่วนของแต่ละโรงเรียน มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า โดยรวมเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครโดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.18, S.D. = 0.38) คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{X} = 4.27, S.D. = 0.57) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.23, S.D. = 0.52) ด้านการพัฒนาปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายใน (gif.latex?\bar{X} = 4.20, S.D. = 0.54) ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน (gif.latex?\bar{X} = 4.17, S.D. = 0.45) ด้านการนิเทศการศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.13, S.D. = 0.48) และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.06, S.D. = 0.47) และ 2) การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คน เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครพบว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนที่สำคัญ ผู้บริหารควรเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนและ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นต้น

References

กัณหา โตสกุล. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กิตติยา กาเร็ว. (2557). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ดอกฝ้าย ทัศเกตุ. (2553). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. บุรีรัมย์: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จากopac.vru.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=1823860 (2562, สิงหาคม).

พัชรินทร์ โคตรสมบัติ. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(พิเศษ): 438.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://data.bop-pobec.info/emis/school.php?Area_CODE=7401. (2562), 25 สิงหาคม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf (2562, 25 สิงหาคม).

สุภาภรณ์ ตั๋นเกี๋ยง. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อภิเชษฐ์ บุญพยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021