ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองผักขม จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ทิชากร วัดสง่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E, เทคนิค KWL, แผนผังมโนทัศน์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองผักขม ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้   แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคลองผักขม จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าแผนการสอนดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก               ( = 4.58, S.D. = 0.01)  2) บททดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง มีค่าความยาก (p) เท่ากับ 0.36-0.56 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.20-0.47 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ

เท่ากับ 0.82 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความยาก (p) เท่ากับ 0.44-0.50 และ 0.43-0.50 ค่าอำนาจจำแนกก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 0.27-0.47 และ 0.0.27-0.60 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 0.75 และ 0.81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์และเทคนิค KWL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จุฬารัตน์ เลี้ยงไกรลาศ และ นฤมล ยุตาคม. (2553). กรณีศึกษา: การรับรู้เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะและการปฏิบัติการสอนของครูชีววิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29(4): 23 - 37.

เจนจิรา เครือทิวา. (2561). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชา พัฒนา, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่องเคมีอินทรีย์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากช่องจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 12(2): 118-132.

ณัฐธิดา พรหมยอด. (2562). การเรียนกระตุ้นความคิด การนำเสนอแนวคิดผ่านแผนผังมโนทัศน์. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 47(220): 38-41.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2557). การสร้างเครื่องมือวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์: คิดวิเคราะห์สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). เพื่อนคู่คิดครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ: การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรภร ตาไชยวงค์, ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ และวรางคณา โตโพธิ์ไทย. (2563). การพัฒนาบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(1): 30-44.

ลือชา ลดาชาติ และ โชคชัย ยืนยง. (2559). สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรเรียนรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 28(2): 108-137.

สมคิด พรมจุ้ย. (2560). หน่วยที่ 13 การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ใน ประมวลผลสาระชุดวิชา สารัตถะวิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 11-15 (หน้า1-117). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ส่องแสง อาราษฎร์, สุจินต์ วิศวธีรานนท์ และดวงเดือน พินสุวรรณ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคเคดับเบิลยูแอล เรื่องสารในชีวิตประจาวันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาเจริญ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(2): 208-230.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ผลการทดสอบโอเน็ต ค่าสถิติระดับโรงเรียน 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/TIMSS2015summary (2563, 2 ธันวาคม).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/11xU3cWrvQ91JnBqDflrZ-EEHJayMxshA/view (2563, 20 เมษายน).

สุทธิดา จำรัส. (2557). หน่วยที่ 8 การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะวิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวพร พาวินิช. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Carole, L., & Marilyn, S. (2016). An Analysis of Pre-service Elementary Teachers’ Understanding of Inquiry-based Science Teaching. Science Education International. 27(2): 217-237.

Dahsah, C. & Faikhamta C. (2008). Science education in Thailand: Science curriculum reform in transition. In R.K. Coll & N. Taylor. (Eds.), Science education in context: An international examination of the influence of context on science curricula development and implementation.

Kalhor Mansoureh & Shakibaei Goodarz. (2012). Teaching reading comprehension through concept map. Life Science journal. 9(4): 725-731.

National Research Council. (1999). National science education standards. Washington DC. National Academy Press.

Novak, J. D., & Gowin, D. B. (1984). Learning How to Learn. [Online], Available: http://www.sciepub.com/reference/85129. (2020, 18 October).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021