ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อุบล ไม้พุ่ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, รองเท้ากีฬา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าผู้สูงอายุ Active aging (กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีรายได้) อายุ 60 ปีขึ้นไปที่นิยมออกกำลังกาย หรือชื่นชอบรองเท้ากีฬา และมีการซื้อสินค้าประเภทรองเท้ากีฬาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดของรองเท้ากีฬา และกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครด้วย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของรองเท้ากีฬาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.33 รองลงมา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทาการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และ 4.23 และน้อยที่สุดคือ ด้านราคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ตามลำดับและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุประกอบด้วยด้าน
การตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรหลังการซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีระดับความความสัมพันธ์แยกเป็นรายได้ด้านดังต่อไปนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อมากที่สุด มีค่าระดับความสัมพันธ์ .468 รองลงมา ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ การตระหนักถึงปัญหาและ การประเมินทางเลือกโดยมีระดับความสัมพันธ์ .445 .382 และ .379 และน้อยที่สุดด้านการแสวงหาข้อมูล มีระดับความสัมพันธ์ .293
2. ด้านราคา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมหลังการซื้อมากที่สุด มีค่าระดับความสัมพันธ์ .659 รองลงมา ด้านการตัดสินใจ การประเมินทางเลือกและการตระหนักถึงปัญหาโดยมีระดับความสัมพันธ์ .622 .580 และ.392 และน้อยที่สุดด้านการแสวงหาข้อมูล มีระดับความสัมพันธ์ .280
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการประเมินทางเลือกมากที่สุด มีค่าระดับความสัมพันธ์ .612 รองลงมา ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ การตัดสินใจ และการตระหนักถึงปัญหาโดยมีระดับความสัมพันธ์ .599 .539 และ .395 และน้อยที่สุดด้านการแสวงหาข้อมูล มีระดับความสัมพันธ์ .232
4. ด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ มากที่สุด มีค่าระดับความสัมพันธ์ .923 รองลงมา ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ การประเมินทางเลือกและการตระหนักถึงปัญหาโดยมีระดับความสัมพันธ์ .874 .557 และ.467 และน้อยที่สุดด้านการแสวงหาข้อมูล มีระดับความสัมพันธ์ .328 ซึ่งจากการทดสอบทำให้ธุรกิจควรคำนึงถึง การวางแผนทางการตลาดโดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการแสวงหาช่องทางที่สามารถซื้อสินค้าได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ด้านราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้าและด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีคุณภาพและตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาของลูกค้าผู้สูงอายุ

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิดยสารชีวจิต. (ม.ป.ป.). รองเท้าเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://cheewajit.com/senior-care. (2563, 15 ตุลาคม).

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทาง ตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐฑิณี คุ้มครอง (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาสำหรับวิ่งของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เยาวภา ปฐมศิริกุล โชติรัส ชวนิชย์ เริ่ม ใสแจ่ม และรัฐพล สันสน. (2560). พฤติกรรมการซื้อและโอกาสการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าของลูกค้าผู้สูงอายุ ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(1): 178.

เยาวภา ปฐมศิริกุลและคณะ. (2561). การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสการตลาดของสินค้า fashion and lifestyle กลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าสำหรับลูกค้าผู้สูงอายุเพื่อยกระดับ SMEs ของประเทศไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://elibrary.trf.or.th/fullP/RDG5810022//RDG5810022_ abstract.pdf. (2563, 15 ตุลาคม).

ศรสวรรค์ สิริวัฒนเศรษฐ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาไนกี้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (12th ed). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). A framework for marketing management. (6th ed). Boston: Pearson.

Head, M. J. & Porter, C. S. (2015). Developing footwear for the active ageing Population. Textile-led Design for the active population. United Kingdom: Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021