ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • จีรศักดิ์ ศารทูลวณิช คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • จุฑารัตน์ นิรันดร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของการศึกษา ในโรงเรียนเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 2) ศึกษาความมีประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน และ 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของการศึกษา ในโรงเรียนเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 22 โรงเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 197 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอบางบาล ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างโดยตาราง จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของการศึกษาในโรงเรียนเขตอำเภอ บางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.74) 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียน ในเขตอำเภอบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.68) 3) เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มากที่สุดในแต่ละด้านเรียงตามลำดับความต้องการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีดังนี้ (1) ด้านฮาร์ดแวร์ คือ ตรวจเช็คอุปกรณ์เครือข่ายให้ใช้งานได้อยู่เสมอ (2) ด้านซอฟแวร์ คือ ควรมีการอัพเดตซอฟแวร์ระบบให้มีความทันสมัย (3) ด้านบุคลากร คือ บุคลากรควรมีการพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์อยู่เสมอ และ (4) ด้านข้อมูลสารสนเทศ คือ ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสารสนเทศอยู่เสมอ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นนทกร อรุณโน. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นิธิพงศ์ โรจนดุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษากับ ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 อำเภอธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พรณรงค์ ทรัพย์คง. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรี สมใจ. (2551). การบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติกลุ่มโรงเรียนปง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมจิตร ขวัญแดง, จุฑารัตน์ คชรัตน์ และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2560). สภาพปัญหาของ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. เอกสารลำดับที่ 1/2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.

หฤทัย อรุณศิริ. (2558). ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2): 43-51.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(2): 1379-1395.

Mott, P. E. (1972). The characteristics of effective organization. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychology Measurement. 30(3): 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2021