ความต้องการใช้สารสนเทศของผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
การใช้สารสนเทศ, สายการบินระหว่างประเทศ, ผู้โดยสารสายการบินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศของผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการใช้ และปัญหาการใช้สารสนเทศของผู้โดยสายสายการบินระหว่างประทศ ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน และ 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการให้บริการสารสนเทศให้กับผู้โดยสารของสายการบินระหว่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินระหว่างประเทศ ที่สนามบินสุวรรณภูมิในช่วงปี เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2562 จำนวน 400 คน จากการคำนวณหาขนาดตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 โดยการสุ่มหากลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบแบบเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศมีความต้องการใช้สารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = .66) สารสนเทศเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามในการนำเข้าประเทศปลายทางอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 1.42) ปัญหาการใช้สารสนเทศของผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศ พบว่าโดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ( = 2.37, S.D. = .68) สารสนเทศที่เกี่ยวกับการขึ้นเครื่องบินอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.68, S.D. = 1.06) เมื่อเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศของผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคลแตกต่างกันพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคลเกี่ยวกับลักษณะการเดินทาง พบว่า มีปัญหาการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมการท่าอากาศยาน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมท่าอากาศยาน ปี พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กรมการท่าอากาศยาน.
ทัศพล แบเลเว็ลด์, (2562). สายการบินต้นทุนต่ำเปิดศึกอีกยก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/economy/news/260261 (2564, 18 มีนาคม).
ญาณิพัชญ์อาภรณ์แสงวิจิตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวของสตรี (Solo Female Travel) ในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษยพรรณ วัชรนาคา. (2562). ทิศทางการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย ปี 2562 ไตรมาศ 2/2562. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก www.posttoday.com/finance-stock/columnist/602368 (2562, 18 สิงหาคม).
ประภัสศรี โคทส์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย. ว.ห้องสมุด. 63(1): 109-132.
ภาวัต ไชยชาณวาทิก และถิรยุทธ ลิมานนท์. (2556). พฤติกรรมการเดินทางระยะไกล ของผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาการเลือกรูปแบบการเดินทาง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 3(2): 57-72.
มนสินี เลิศคชสีห์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินการบินไทย สำหรับการให้บริการภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลมเปลี่ยนทิศ (นามแฝง). (2562). ไปเที่ยวเมืองนอกกันดีกว่า. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/144800 (2562, 18 สิงหาคม).
สถาบันการบินพลเรือน. (2559). ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดวัตถุและสารซึ่งในระหว่างการขนส่งทางอากาศอาจเป็นอันตราย ต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือบุคคลในอากาศยาน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันการบินพลเรือน.
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (2562). ทิศทางการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย. กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (แผ่นพับ).
Best, J. W. (2001). Research in Education. New Jersey: Englewood Cliffo.
Federal Aviation Administration, FAA, (2019). Pack Safe for Passengers. [Online], Available: https://www.faa.gov/hazmat/packsafe/ (2019, 12 May).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์