การติดตามผลของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพ พงษ์ประภาส คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา, ผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง, ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพการทำงานและลักษณะงานที่ปฏิบัติของผู้สำเร็จการศึกษา 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะและสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษาและผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในเชิงปริมาณ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555-2560 รวมทั้งหมด 127 คน ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 71.65 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของผู้สำเร็จการศึกษา ในเชิงคุณภาพ รวมทั้งหมด 12 คน โดยมีผู้เข้ารับสัมภาษณ์จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ใช้วิธีแบบสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงาน โดยทำงานและปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ และมีคุณลักษณะและสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา หลังสำเร็จการศึกษาในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.12, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.31, S.D. = 0.47) รองลงมา คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{X} = 4.22, S.D. = 0.56) และด้านทักษะการส่งเสริมสุขภาพและ พัฒนาบุคลิกภาพ (gif.latex?\bar{X} = 4.12, S.D. = 0.54) ตามลำดับ และจากการวิจัยนี้หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ควรนำเอาข้อมูลย้อนกลับที่ได้ จากผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของผู้สำเร็จการศึกษา มาเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.2) หรือเนื้อหาและโครงสร้างของหลักสูตรที่จะปรับปรุงในวงรอบต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการปรับปรุงให้มีความทันสมัยมากขึ้น และตอบสนองต่อผู้ใช้บัณฑิตและตลาดแรงงาน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

References

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2562). ผู้สำเร็จการศึกษา. ออนไลน์, เข้าถึงได้จาก: www.reg.up.ac.th. (2562, 24 ธันวาคม).

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2568. ออนไลน์, เข้าถึงได้จาก: https://www.up.ac.th/th/IntroEtcup.aspx?tab=Strategic_64 (2564, 24 พฤษภาคม).

คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2555). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2560). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา

เชียง เภาชิต. (2554). รายงานวิจัยเรื่องสมรรถนะและคุณภาพบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ในทัศนะของนายจ้าง. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://libdoc.dpu.ac.th/research/138486.pdf. (2563, 7 มีนาคม).

ทรงเกียรติ อิงคามระธร และชฎาพร โพคัยสวรรค์. (2562). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คุณลักษณะของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ และการดำเนินการด้านสุนทรียภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก http://irdmcru.mcru.ac.th/file/คุณภาพบัณฑิต/คุณภาพบัณฑิตสำเร็จการศึกษาปี61.pdf. (2564, 27 พฤษภาคม).

นุกูล บำรุงไทย และคณะ (2552). การติดตามคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของศูนย์วิทยบริการนอกจังหวัดพิษณุโลก และความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยนเรศวร. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/76/1/nukul.pdf. (2563, 14 มีนาคม).

ผ่องใส ถาวรจักร. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2564. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2555_Academic_Pongsai.pdf (2564, 24 พฤษภาคม).

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2558). ความพึงพอใจต่อบัณฑิตของนายจ้าง/ผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมชาย ศรีรักษ์. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2554-2555. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สรคม ดิสสะมาน. (2550). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาสารนิเทศศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2007.470 (2564, 24 พฤษภาคม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://tqf.hu.ac.th/File/GetFile/224. (2563, 8 มีนาคม).

สุมิตรา ด่านพาณิชย์. (2560). การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2558-2559. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1271. (2563, 8 มีนาคม).

เอกศักดิ์ อักษรศรี. (2552). การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล (ออกแบบแม่พิมพ์) วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล (ออกแบบแม่พิมพ์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021