การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • พนิตธิดา เปรมานุพันธ์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู ภาควิชาศึกษาทั่วไป; วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การแปลงทางเรขาคณิต, โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP)

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางรขาคณิต  โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม eometer's Sketchpad (GSP) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t–test) แบบ Dependent   

                ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.29 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.42 คะแนน    หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.03 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.86 คะแนน  (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

ชิดชนก โพชณงค์. (2559). การใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ประกอบการจัด การเรียนการสอนตามโมเดลของลาสเลย์และแมทซีนสกี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ชาญณรงค์ เฮียงราช. (2551). การศึกษาการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ The Geometer’s Sketchpad ในกระบวนการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนมโนมติทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษา. การประชุมทางวิชาการเครือข่ายการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ปี 2551. (หน้า 127 - 132). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภาพรรณ์ สิงห์คำ (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับโปรแกรม Geometer's Sketchpad (GSP) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนาภรณ์ กุมผัน. (2553). ผลการสอนแบบปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม GSP ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิววงศ์ สาวงศ์นาม และชาญณรงค์ เฮียงราช. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของ Polya ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้ The Geometer's Sketchpad เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(3): 97 - 105.

สุกัณยา จันโทศรี. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ โดยใช้โปรแกรม Geometer's Sketchpad เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและ สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรุณี ศรีวงศ์ชัย. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Baharvand, M. (2002). A Comparison of the Effectiveness of Computer-Assisted Instruction Versus Traditional Approach to Teaching Geometry. Dissertation Abstracts International.

Hiengraj, C. (2006). Roles of the Geometer’s Sketchpad in Students’ Processes of Geometric Conceptual Construction: A Case Study. Paper presented at the Thailand International Conference on 21st Century Information Technology in Mathematics Education, held of Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai, Thailand. September 17-20.

Subramanian, L. (2005). Investigation of High School Geometry Students’ Proving and Logical thinking Abilities and The Impact of Dynamic Geometry Software on Student Performance. Florida: Orlando.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021