พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์ และการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) กับการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาลไทย

ผู้แต่ง

  • เจนเนตร มณีนาค มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์, การบริการสาธารณะแนวใหม่, การบริหารสถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง ระบบราชการ งานสาธารณะทั้งหลาย พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ คือ ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี ค.ศ. 1970 และยุค ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีพัฒนา การเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตั้งแต่หลักการรัฐประศาสนศาสตร์ที่แยกการบริหารออกจากการเมือง ต่อมาหลักการรัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนเป็นการบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง จนกระทั่งถึงพัฒนาการระยะหลังคือการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) ที่นำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ และปิดท้ายด้วยการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) ที่มีหลักการเรื่องการบริการเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของพลเมือง
รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะบริการรับใช้ประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แต่ยังไม่สามารถมีอำนาจเต็มในทางปฏิบัติ การบริหารการแจกจ่ายวัคซีนยังไม่ยึดพลเมืองและผลประโยชน์สาธารณะอย่างเต็มที่ ยังมีการเอื้อบางพรรคการเมือง และในบางครั้งมีการตัดสินใจที่เอื้อประชาชนเพียงบางกลุ่ม ก่อให้เกิดผลกระทบประชาชนหมู่มาก เช่น การให้มีวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์โดยไม่มีมาตรการรองรับ ส่วนการคิดเชิงกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญและการปรับนโยบายการฉีดวัคซีน รัฐบาลทำได้ดีมาก โดยมุ่งเน้นประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ และปรับเพิ่มการฉีดให้ประชาชนในพื้นที่ระบาดสูง ในการขอความร่วมมือภาคเอกชน รัฐบาลทำได้ดีเช่นกัน แต่ยังมีการสื่อสารที่สับสน กลับไปกลับมา ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในระยะแรก เช่น ระบบลงทะเบียนการรับวัคซีนจากค่ายมือถือและระบบหมอพร้อม แต่รัฐบาลก็ปรับปรุงข้อบกพร่อง จนถือว่าสามารถประยุกต์หลักการ NPS ได้ดีในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ รัฐบาลอาจปรับใช้กลไกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นหน่วยงานกลาง มีหน่วยงานย่อยในการกำกับดูแล ทำหน้าที่กระจายข้อมูลให้ประชาชนรับทราบอย่างเป็นเอกภาพและรับฟังเสียงของประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ แบบ 360 องศา เพื่อให้บริการประชาชนและบริหารจัดการสถานการณ์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

References

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). (2021). Policy Brief: ฉบับที่ 109: ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงบประมาณเพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนพื้นฐานได้ฟรีและทันการณ์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/documents/182272 (2564, 12 ธันวาคม).

บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สนามมวย-บ่อน-เลานจ์ บทเรียนสกัดคลัสเตอร์ใหม่. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.blockdit.com/posts/6073564b60d7400 c43861650. (2564, 26 เมษายน).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2564). ประเมินผลงานกลางเทอมรัฐบาลประยุทธ์ 2: การควบคุมการระบาดของโควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2021/07/report-2years-prayut-cabinet2. (2021, 12 December).

สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ และกุลสกาวว์ เลาหสถิต. (2562). การบริการสาธารณะแนวใหม่กับความสอดคล้องของวัฒนธรรมไทย. วารสารการเมืองการปกครอง. 9(3): 219-232. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://copag.msu.ac.th/journal/filesjournal/9-3/0602202030314.pdf. (2564, 12 ธันวาคม).

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563, 12 มีนาคม). คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 76/2563 เรื่องจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด – 19).

Denhardt, R. B. & Denhardt, J. V. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe.

Nicolas, H. (1975). Paradigms of Public Administration. [Online], Available: https://sangyubr.files.wordpress.com/2012/02/paradigms-of-public-administration.pdf. (2021, 26 April).

Woodrow, W. (1887). Explore JSTOR The Study of Administration. [Online], Available: https://www.jstor.org/stable/2139277?seq=3#metadata_info_tab_ contents. (2021, 26 April).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021