การศึกษาการตระหนักรู้และการใช้กลยุทธ์การกำกับตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • จิรารัตน์ ประยูรวงษ์ ศูนย์ภาษา

คำสำคัญ:

การตระหนักรู้การกากับตัวเอง, การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ, กลยุทธ์การอ่านเชิงวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้กลยุทธ์การกำกับตนเองในการอ่านและการใช้กลยุทธ์แบบกำกับตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ (จำนวน 130 คน) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์แบบกำกับตนเองในการอ่านคือแบบสอบถามสำรวจกลยุทธ์การอ่าน the Survey of Reading Strategies (SORS) ของ Mokhtari และ Sheorey (2002) ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษานั้นมีการตระหนักรู้กลยุทธ์การกำกับตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในระดับปานกลางซึ่งผลรวมค่าเฉลี่ยทั้งหมดคือ (X̅ = 3.08, S.D. = 0.04) และนักศึกษาใช้กลยุทธ์การแก้ไขปัญหาการอ่านในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการมากที่สุด ในขณะที่ใช้กลยุทธ์ในการสนับสนุนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและใช้กลยุทธ์การอ่านแบบองค์รวมเป็นอันดับรองลงมา
ดังนั้นผลการวิจัยนี้จึงสนับสนุนยืนยันผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่านักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมีการใช้กลยุทธ์การแก้ไขปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษมากที่สุด อีกทั้งยังทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศควรจะมีความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การกำกับตนเองในการอ่านและการสอนนักศึกษาถึงวิธีใช้กลยุทธ์แบบกำกับตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษนั้นจะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการอ่านให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ฉัตรณรงค์ ชัยเดช. (2562). รายงานการวิจัย เรื่อง กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ: กรณีศึกษาของ ผู้เรียนที่มีความรู้พหุระดับ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิภาศิริ แจ้งแสงทอง. (2559). กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 6(11): 1-14.

ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2564). ประเทศที่มีทักษะความสามารถภาษาอังกฤษ สูงมาก-ต่ำมาก 2021 ไทยอยู่โซนรั้งท้าย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/countries-with-proficiency-in-english-rank/ (2564, 12 ธันวาคม).

ธารราพร ทรงเสี่ยงไชย. (2553). กลวิธีการอ่านสื่อแบบออนไลน์และเอกสารตีพิมพ์เชิงวิชาการของนิสิตเอกวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Annury, M. N., Mujiyanto, J., Saleh, M. & Sutopo, D. (2019). The Use of Metacognitive Strategies in EFL Reading Comprehension. Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 343: 62-66.

Aziz, Z. A., Nasir, C. & Ramazani. (2019). Applying Metacognitive Strategies in Comprehending English Reading Texts. A Journal of culture, English Language, Teaching & Literature. 19(1): 137-159.

Baker, L. & Brown, A. L. (1980). Metacognitive skills and reading. Technical Report, 188(1): 1-74.

Chaothaisong, R. & Piyanukool, S. (2011). Thai EFL University Students’ Reading Strategy Use to Comprehend Academic English Texts: A Preliminary Study. National Graduate Research Conference. 239-247.

Dangin. (2016). Metacognitive Reading Strategies Awareness and Reading Comprehension: A Correlational Study. Master of the Graduate Program in English Language Studies. Thesis in English Language Studies, Sanata Dharma University Yogyakarta.

Fauzi, C. (2019). An Analysis on Reading Strategies based on Metacognitive Awareness and Gender. LINGUA PEDAGOGIA (Journal of English Teaching Studies). 1(1): 1-16.

Fitrisia, D., Tan, K. & Yusuf, Y. Q. (2015). Investigating Metacognitive Awareness of Reading Strategies to Strategies to Strengthen Students’ Performance in Reading Comprehension. Asia Pacific Journal of Educators and Education. 30(1): 15–30.

Meniado, J. C. (2016). Metacognitive Reading Strategies, Motivation, and Reading Comprehension Performance of Saudi EFL Students. English Language Teaching. 9(3): 117-129.

Mokhtari, K. & Reichard, C. A. (2002). Assessing Students’ Metacognitive Awareness of Reading Strategies. Journal of Educational Psychology. 94(2): 249–259.

Mokhtari, K. & Sheorey, R. (2002). Measuring ESL students’ awareness of reading strategies. Journal of Developmental Education. 25(3): 2-10.

Rahman, K. (2020). Perceived Use of Metacognitive Strategies by EFL Undergraduates in Academic Reading. The Journal of VELES Voices of English Language Education Society. 4(1): 44-52.

Sheorey, R. & Mokhtari, K. (2001). Differences in the metacognitive awareness of reading strategies among native and non-native readers. System. 29(1): 431-449.

Tavakoli, H. (2014). The Effectiveness of Metacognitive Strategy Awareness in Reading Comprehension: The Case of Iranian University EFL Students. The Reading Matrix. 14(2): 314-336.

Zahra, K., Komariah, E. & Sari, D. F. (2016). A Study on Students’ Metacognitive Awareness and Their Reading Comprehension. Research in English and Education (READ). 1(1): 10- 17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2022