ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ์ อ่วมทอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ต้องลักษณ์ บุญธรรม ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การบริหารงานประกันคุณภาพภายใน, ประถมศึกษา, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพที่เป็นอยู่จริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี และ 2) การจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 360 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดตอบสนองคู่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร (PNIModified)
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่จริงของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.91, S.D. = 0.45) 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.87, S.D. = 0.27) และ 3) การจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษา ตามการจัดลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ (1) การดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย (PNIModified = 0.262) (2) การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (PNIModified = 0.249) (3) การจัดระบบบริหารคุณภาพของสถานศึกษา (PNIModified = 0.246) (4) การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการเรียนรู้ (PNIModified = 0.242) (5) การกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสถานศึกษาที่ชัดเจน (PNIModified = 0.238) และ (6) การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ (PNIModified = 0.226) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับปรุง พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การจัดการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดรุณี จำปาทอง. (2562). หน่วยที่ 10 ผู้นำกับการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. ใน การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับผู้นำทางการศึกษา. (น. 10-19). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์, พัชณีย์ คำหนัก และกมลศิริ บูรณะศิริ. (2559). เปิดโมเดลการศึกษา 4 ประเทศ. จุลสาร สมศ. 17(1): 1-8.

ถวัลย์ พอกประโคน. (2557). สภาพการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 6(1): 86-101.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2561). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ. 13(1): 97-116.

นเรศ สถิตยพงศ์. (2561). การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(3): 345-364.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงศ์ณภัทร นันศิริ. (2564). การศึกษาสภาพและแนวทางในการสร้างทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 38 จังหวัดสุโขทัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(2): 205-216.

พิชิต ขำดี. (2562). ความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(2): 67-78.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชุตา บุญมี. (2561). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนอนุบาลนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิลัยพร พิทักษา. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(2): 179-191.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย นาทะพันธ์. (2562). การประกันคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. ปทุมธานี: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. ปทุมธานี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.

สุจิตรา ศิริการุณย์. (2557). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้แนวคิด BALANCED SCORECARD (BSC). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2563). การบริหารสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาการวิจัยของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 11(3): 156-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021