การบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, มาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงาน, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี 2) เปรียบเทียบการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา เพศ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และ 3) หาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และประเด็นคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยการทดสอบของเชฟเฟ่ และการสรุปสาระสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด4 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการเป็นผู้นำและสร้างผู้นำ ด้านการพัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง และด้านการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน ส่วนด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์ ด้านการสร้างโอกาส ในการพัฒนาในทุกสถานการณ์ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ ด้านการแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ด้านการพัฒนาการใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นตามลำดับ ด้านการรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบด้านการปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารสถานศึกษา
2. การเปรียบเทียบการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี ตามขนาดสถานศึกษา เพศ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามขนาดสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีการปฏิบัติงานแตกต่างจาก ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กมีผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความต้องการให้หน่วยงานต้นสังกัด ส่งเสริมให้ผู้บิหารสถานศึกษามีคุณลักษณะการเป็นผู้นำแบบเป็นทีม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้นำบริหารความเสี่ยง และมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นสถานศึกษายุคใหม่
References
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สระบุรี เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สระบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.
คุณัชญา สมจิตร และผดุง พรมมูล. (2561). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชุมพร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(2): 17-31.
เฉลิมพล เอกพันธุ์ และธีระ ภูดี. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(34): 156-165.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, หน้า 301-303.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). การบริหารศึกษากับภาวการณ์เป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130ง (4 ตุลาคม 2556), หน้า 72-74.
วิเชียร วิทยอุดม. (2549). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารจากประสบการณ์ของศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ในการบริหารการศึกษานักบริหารมืออาชีพ. นนทบุรี: พินธุพันธ์การพิมพ์.
วิไล ทองแผ่. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2551). โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตามระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิมล บุญลี และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2557). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อรุณ รักธรรม. (2543). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Cronbach, L J. (1990). Essential of Psychological Testing. (4th ed.). New York: Parper & Row.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์