การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะนักบริหารที่ดี ผ่านแหล่งวิทยาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ณิรดา เวชญาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นิคม นาคอ้าย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อดุลย์ วังศรีคูณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นงลักษณ์ ใจฉลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • จารุวรรณ นาตัน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, คุณลักษณะนักบริหารที่ดี, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะนักบริหารที่ดี ผ่านแหล่งวิทยาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 36 คน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 4 คน นักศึกษา จำนวน 30 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินที่มีข้อคำถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการในรูปแบบ CIPP MODEL และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิเคราะห์แบบประเมินโครงการทั้ง 2 ฉบับ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\mu) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยลำดับแรก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ ด้านปัจจัยนำเข้า 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับแรก คือ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพอใจและมีความคิดเห็นว่าควรจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ความพร้อมและกระบวนการจัดกิจกรรม

References

คณะครุศาสตร์. (2560). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิบูลสงคราม: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

จันทร์ถนอม ธรรมจักร. (2551). สภาพปัจจุบันและความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มานิตย์ จุมปา. (2550). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 5555). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ (1991).

ศิริรัตน์ นิลนาก. (2561). การประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักการกีฬา. (2560). สรุปและประเมินผลโครงการส่งเสริมกีฬาภาคฤดูร้อน “ร้อนนี้มีกีฬา เพื่อลูกรัก”ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักการกีฬา กรมพลศึกษา.

สำนักงาน ก.พ. (2555). คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การประเมินโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8. นครปฐม: กลุ่มพัฒนาผู้นำ สถาบันพัฒนาครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

อรวรรณ ธนูศร. (2561). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, 49–60.

Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory model & Applications .CA: Jossey-Bass.

Vroom, H. V. (1964). Work and Motivation. Now York: Wiley and Sons.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. Van Nostrand: Reingeld Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021