การสร้างและสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กรกฎ จำเนียร หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การสร้างแบรนด์, การสื่อสารแบรนด์, ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) สำรวจการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) สร้างและสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบการชุมชนผ้ามัดย้อมของจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 4 กลุ่ม แบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการชุมชนผ้ามัดย้อม และบันทึกผลการสังเกตการณ์จากการลงพื้นที่ จากนั้นรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหานำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า ผ้ามัดย้อมแต่ละพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ตามบริบทเชิงพื้นที่ การสื่อสารการตลาดที่ผ่านมาเน้นการสื่อสารออนไลน์ การสื่อสารโดยบุคคล และ การสื่อสารผ่านกิจกรรมการออกร้าน สำหรับแบรนด์และการสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม จังหวัดนครศรีธรรมราชภายใต้โครงการวิจัยของผู้ประกอบการชุมชนทั้ง 4 กลุ่ม จะอยู่ภายใต้แบรนด์ภูภัฏ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชร่วมกับชุมชนพัฒนาขึ้น และมีการสื่อสารผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านช่องทางการตลาดต่าง ๆ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และออนกราวนด์

References

กุณฑลี รื่นรมย์. (2560). แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป พิมพ์.

จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564 ก). ประชากร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www. nakhonsithammarat.go.th/web_52/people.php. (2021, 4 มิถุนายน).

จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564ข). ลักษณะทางกายภาพ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/geography.php. (2021, 4 มิถุนายน).

ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. (2557). การตลาดแบบองค์รวม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุราษฎร์ธานี: เค.ที. กราฟฟิค การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์.

ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย (2561). ตั้งชื่อแบรนด์ให้โดน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.smartsme.co.th/content/110588. (2021, 4 มิถุนายน).

โพสต์ทูเดย์. (2563). เปิดเบื้องหลัง ผ้ามัดย้อมกลุ่มใบไม้คีรีวงโกอินเตอร์ ภายใต้ปรัชญาเดินช้า ๆ แต่มั่นคง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/social/goodstory/612286. (2021, 4 มิถุนายน).

แฟนเพจผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก สวนขัน. (2564). สื่อออนไลน์สื่อสารอัตลักษณ์ผ้ามัดย้อม

[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://m.facebook.com/Batiksuankhan/. (2021, 27 ธันวาคม).

แฟนเพจภูภัฏ. (2564). ผ้ามัดย้อมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนขันเกษตรยั่งยืน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NSTRUBRAND. (2021, 27 ธันวาคม).

แฟนเพจภูภัฏ. (2564). ผ้ามัดย้อมวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสาน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NSTRUBRAND. (2021, 27 ธันวาคม).

แฟนเพจภูภัฏ. (2564). ผ้ามัดย้อมวิสาหกิจชุมชนต้นน้ำตาปีแฮนด์เมด อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NSTRUBRAND. (2021, 27 ธันวาคม).

แฟนเพจภูภัฏ. (2564). ผ้ามัดย้อมวิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่ง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NSTRUBRAND. (2021, 27 ธันวาคม).

เมธาวัตร ภูธรภักดี สุภาวดี พรหมมา เมธาวี จำเนียร ปาริฉัตร ศรีหะรัญ และตรีฤกษ์ เพชรมนต์. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างและสื่อสารแบรนด์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเพื่อยกระดับผ้าพื้นถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สถานีโทรทัศน์ NBT นครศรีธรรมราช. (2564). สื่อโทรทัศน์สื่อสารอัตลักษณ์ผ้ามัดย้อม

[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/NBTnakhonsithammarat /posts /717758895437721/. (2021, 27 ธันวาคม).

สมิทธิ์ บุญชุติมา และรุ่งโรจน์ รุ่งวิมลสิน. (2560). กลยุทธ์การสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

อธิป จันทร์สุรีย์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

KOTLER. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Wilson, K & Desha, C. (2016). Engaging in design activism and communicating cultural significance through contemporary heritage storytelling: A case study in Brisbane, Australia. Journal of Cultural Heritage Management and Sustainable Development. 6(3): 271-286.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2022