การประกอบสร้างความหมายของการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันของวารสารคลอโรฟิลล์
คำสำคัญ:
การประกอบสร้างความหมาย, การเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน, วารสารคลอโรฟิลล์บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายของการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันของวารสารคลอโรฟิลล์ โดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหาสารหรือตัวบทของวารสารคลอโรฟิลล์ จำนวน 14 เล่ม โดยพิจารณาจากหลักการเขียนบทความ ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป และการใช้ภาพประกอบ จากนั้นนำเสนอในรูปแบบ การพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตวารสารคลอโรฟิลล์มีการสร้างความหมายเกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านสุขภาพและ ความปลอดภัย 3) ด้านการสร้างเครือข่าย และ 4) ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกัน 12 ประเด็น โดยประกอบสร้างความหมายของการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับคนที่ทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกับคนในชุมชน ท้องถิ่น ต่างจังหวัดมากที่สุด ซึ่งความหมายทั้งหมดถูกสะท้อนผ่านอำนาจในการเล่าเรื่องผ่านการเขียนบทความและการใช้ภาพประกอบของผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง เช่น หมอ นักวิชาชีพ นักวิชาการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิจัย เพื่อสร้างความหมายใหม่ของการเดินและการใช้จักรยานทั้งในระดับบุคคลและสังคมส่วนรวม เพื่อผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานให้เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน
References
กฤษดา เรืองโชติวิทย์. (2557). มือใหม่หัดขี่จักรยาน...กับทริปสะอาดที่ชัยภูมิ. วารสารคลอโรฟิลล์. 2(6): 19.
กวิน ชุติมา. (2556). การเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. วารสารคลอโรฟิลล์. 2(3): 6.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
จุฑากานต์ ทองทั้งสาย และเจษฎา ศาลาทอง. (2558). การประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานในรายการโทรทัศน์ “ฮิวเมินไรด์จักรยานบันดาลใจ. วารสารนิเทศศาสตร์. 34(1): 29 - 43.
จุฑากานต์ ทองทั้งสาย. (2558). การประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานในรายการโทรทัศน์ “ฮิวเมินไรด์จักรยานบันดาลใจ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมพูนุช บุญลุ่ม. (2558). อลังการน้ำตก มรกดโลก ปราสาทวัดภู ดูวิถีลาวใต้. วารสารคลอโรฟิลล์. 4(9): 21.
ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย. (2557). ผลสรุปการประชุมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์บรรทุกจักรยานติดรถยนต์. วารสารคลอโรฟิลล์. 3(8): 8.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). รัฐ-ชาติกับ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ธงชัย พรรณสวัสดิ์. (2557). เดินและจักรยานปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริงในบริบทไทย. วารสารคลอโรฟิลล์. 2(6): 5.
นงนุช แย้มวงศ์. (2558). ภาพลักษณ์ของคนใช้จักรยานในชีวิตประจำวันในมุมมองของสาธารณชน. ใน การประชุมวิชาการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 : ความปลอดภัย ต่อ เดิน-จักรยาน. 3 เมษายน 2558. (148-153). กรุงเทพฯ: ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซอยงามดูพลี.
บุษกร. (นามแฝง). (2559ก). ไต้หวัน เกาะสวรรค์สำหรับคนปั่นจักรยาน. วารสารคลอโรฟิลล์. 4(11): 8.
บุษกร. (นามแฝง). (2559ข). ผ้าป่าหมาแมว กรุงเทพฯ-ลำปาง เส้นทางปั่นอิ่มใจอิ่มบุญ. วารสารคลอโรฟิลล์. 4(13): 12.
พรพรรณ สมบูรณ์บัติ. (2549). หญิงชรา : ภาพตัวแทนในรายการสารคดีโทรทัศน์ "คนค้นฅน". วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรัตน์ วชิราชัย. (2555ก). 100% for day เท้าขยับ ปรับแคลอรี่. วารสารคลอโรฟิลล์. 1(1): 15.
พรรัตน์ วชิราชัย. (2555ข). ชีวิตที่สมดุล บ้านของ...หัวใจสีเขียว. วารสารคลอโรฟิลล์. 1(2): 11.
พัชนี เชยจรรยา. (2558). การวิจัยเชิงปริมาณทางนิเทศศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิทักษ์ ชูมงคล. (2559). นัยยะแฝงภายใต้การปั่นจักรยานในมุมมองการสื่อสาร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(46): 217-241.
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรัสวดี โรจนกุศล. (2559). ผลพิจารณาข้อเสนอโครงการย่อย เดิน จักรยาน ผ่าน 10 เรื่อง. วารสารคลอโรฟิลล์. 4(13): 21.
อนุศักดิ์ คงมาลัย. (2555). วารสารคลอโรฟิลล์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 : มกราคม- กุมภาพันธ์ 2555. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicyclingclub.org/booklet/613/. (2564, 16 มิถุนายน).
อนุศักดิ์ คงมาลัย. (2556). มุ่งหวังให้เป็นจริงต้อง “แยกกันเดิน รวมกันตี”. วารสารคลอโรฟิลล์. 2(3): 2.
อนุศักดิ์ คงมาลัย. (2557). BIKE AND WALK สิจึงจะเท่ มัวลังเลอยู่ทำไม !!!. วารสารคลอโรฟิลล์. 3(7): 5.
Barthes, R. (1967). Element of Semilology. New York: Hill & Wang.
Giddens, A. (1990). The Consequences of Modernity. California: Stanford University Press.
Götschi, T., Garrard, J. & Giles-Corti, B. (2015). Cycling as a Part of Daily Life: A Review of Health Perspectives. Transport Reviews. 36(1): 45-71. DOI: 10.1080/01441647.2015.1057877
Hannam, K., Butler, G., Witte, A., & Zuev, D. (2021). Tourist’s mobilities: Walking, cycling, driving and waiting. Tourist Studies. 21(1): 57-69. DOI: 10.1177/1468797621992931
Miles, S. (2001). Social Theory in the “Real” World. London: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 กำพล ดวงพรประเสริฐ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์