การศึกษาความคาดหวังและความคิดเห็นของนักศึกษาปัจจุบัน ที่จะกลายเป็นศิษย์เก่าในอนาคตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ศิษย์เก่า, ความคาดหวัง, ศิษย์เก่าในอนาคตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังและความคิดเห็นของนักศึกษาปัจจุบันที่จะกลายเป็นศิษย์เก่าในอนาคต 2) ศึกษาแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักศึกษาปัจจุบันที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี เต็มเวลา จันทร์-ศุกร์ และ เต็มเวลา เสาร์-อาทิตย์ จำนวน 106 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านที่นักศึกษามีความความคาดหวังต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุด คือ 1) ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย ( = 4.1, S.D. = 3.4) 2) ด้านการเป็นที่รู้จักของชุมชนและสังคม ( = 4.1, S.D. = 16.4) 3) ด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย/ความสามารถของบัณฑิต ( = 4.0, S.D. = 17.2) 4) ด้านการจัดกิจกรรมของศิษย์เก่าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ( = 3.9, S.D. = 15.3) 5) ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างศิษย์เก่า ( = 3.9, S.D. = 15.1) 2) ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัย คือ (1) ควรให้มีการจัดงานเลี้ยงรุ่นเพื่อพบปะสังสรรค์ของศิษย์เก่าประจำปี (2) นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย (3) ควรเพิ่มช่องทางการแจ้งข่าวสาร สื่อประชาสัมพันธ์ให้น่าสนใจ
2. แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัย คือ (1) ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า (2) ควรมีการจัดงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ และเร่งพัฒนา/ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด (3) ควรมีการจัดกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่าที่สามารถเข้าถึงกลุ่มศิษย์เก่าทุกช่วงอายุและหลากหลายสาขาอาชีพ (4) ปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษาปัจจุบัน ให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในสถาบัน และควรมีการศึกษาว่าปัจจัยใดที่ให้ศิษย์เก่ามีความผูกพันและความจงรักภักดีต่อสถาบัน เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือสถาบันในอนาคต
References
ปาริชาติ กมลยะบุตร. (2557). ปัจจัยและรูปแบบการบริหารงานศิษย์เก่าของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนตรี นามวงค์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การบริหารความสัมพันธ์กับศิษย์เก่า ของสำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 23(3): 159-178.
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2547). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2563, 30 ตุลาคม 2563). ข้อมูลสถิตินักศึกษาชาย-หญิง 2560-2562. จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางการศึกษาของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมิต สัชฌุกร. (2548). การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สายธาร.
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.
Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.
Bishhas, N. & Corleigh, S. (2014). Power of alumni engagement. [Online], Available: http://www.alumnirelationsconference.in (2014, 24 September).
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York: Wiley.
Walton, R. E. & McKersie, R. B. (1965). A Behavioral Theory of Labor Negotiations. New York: Cornell University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ชยกร สัตย์ซื่อ, อัญชัญ ยุติธรรม, ปรัชญพัชร วันอุทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์