พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ จันทร์เพ็ชร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ณรงค์ฤทธิ์ ปริสุทธิ์กุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • เทพยุดา เฝื่อคง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเชิงจริยธรรม, นักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตตรัง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ตามเพศและชั้นปีที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 216 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณประกอบด้วยการทดสอบ t-test, One way ANOVA และ Scheffe method

          ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในภาพรวม พฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความเสียสละ และความซื่อสัตย์ในระดับมาก แต่มีพฤติกรรมด้านความอดทนอดกลั้นในระดับปานกลาง นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมด้านความอดทนอดกลั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีแตกต่างกันมีพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัยและด้านความเสียสละ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/ (2564, 10 มกราคม).

เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2015). ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Journal of Social Work. 23(2): 55-78.

ดวงพร อุทัยสุริ. (2548). ศึกษาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นฤมล โอสถานุเคราะห์. (2549). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/july_dec2007/Narumol.pdf. (2564, 10 มกราคม).

นารี น้อยจินดา. (พฤศจิกายน 2555-เมษายน 2556). คุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย (Morals and Ethics in Thai Society). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 7(2): 54-62.

ประดิษฐ์ ปะวันนา. (2563). การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 9(1): 149-162.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(มกราคม-ธันวาคม 2558): 375-396.

ปาริชาติ ธีระวิทย์. (2561). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 11(1), 31-39.

มงคล สามารถ, พระมหา. (2558). คุณลักษณะทางจริยธรรมของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก. 8(1): 31-42.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. (2564). สถิติทางการศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://eds.trang.psu.ac.th/stat/. (2564, 10 มกราคม).

มินตรา สาระรักษ์, กิตติ เหลาสุภาพ และจิตตวีร์ ภัทรวัชช์รวีร์. (2561). พฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารอุบลเวชสาร. 1(2): 20-27.

มินท์มันตา หิรัณย์ณภัทร์ และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของสถาบันอุดมศึกษา การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอนกับพฤติกรรม ทางจริยธรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 22(1): 87-95.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายจิตรา นิสาย, มัลลิกา การกสิขวิธี และ นารท ศรีละโพธิ์. (2563). คุณธรรมจำเป็นสำหรับโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 15(2): 1-14.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนผู้ต้องราชทัณฑ์จำแนกตามเพศเป็นรายเดือน พ.ศ. 2554-2563. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/09.aspx. (2564, 10 มกราคม).

อรพินทร์ สันติชัยอนันต์. (2549). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

AlMajali, S. & AlKhaaldi, K. (2020). Values of Tolerance in Relation to Academic Achievements, Cultures, and Gender among UAE Universities Students. International Journal of Instruction. 13(3): 571-586.

Betz, M., O’Connell, L. & Shepard, J. M. (1989). Gender Differences in Proclivity for Unethical Behavior. Journal of Business Ethics. 8(5): 321-324. Cited in Zopiatis, A. A., & Krambia-Kapardis, M. (2008). Ethical behavior of Tertiary Education Students in Cyprus. Journal of Business Ethics. 81(3): 647-663.

Boateng, E. A. & Agyapong, D. (2017). Gender and Ethical Behaviour of Accounting Students: An Empirical Evidence of University of Cape Coast. Research Journal of Finance and Accounting. 8(4): 49-56.

Manandhar, T. & Shrestha, P. (2019). A study on Relationship Between Self-discipline and Study Habits among Nursing Students at Bhaktapur, Nepal. International Journal of Health Sciences and Research. 9(5): 242-248.

Rest, J. R. (1988). Can Ethics be Taught in Professional Schools? The Psychological Research. Ethics: Easier Said than Done. 1(1): 22-26. Cited in Zopiatis, A. A., & Krambia-Kapardis, M. (2008). Ethical behavior of Tertiary Education Students in Cyprus. Journal of Business Ethics. 81(3): 647-663.

Yamane, T. (1976). Statistics: An Introductory Analysis. (2nded). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021