คุณลักษณะของผู้นำและความต้องการบริการสาธารณะของประชาชนต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อนิรุธ พิพัฒน์ประภา สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • สุกานดา กลิ่นขจร สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

คุณลักษะผู้นำ, การบริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ)และเปรียบเทียบความต้องการบริการสาธารณะของประชาชนต่อองค์บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,437 คน วิเคราะห์โดยค่าความถี่ ร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี Least-Significant Difference: LSD

            ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ผู้นำ มีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำ รองลงมาคือ มีความเป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีความเป็นธรรมบนพื้นฐานความถูกต้อง ตามลำดับ ความต้องการการบริการสาธารณะของประชาชนส่วนใหญ่ มีความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคม รองลงมาคือให้ความสำคัญด้านบริหารการปกครอง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่าประชาชนที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกันมีความต้องการต่อความต้องการบริการสาธารณะของประชาชนต่อองค์บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.

เกษมสันต์ อยู่ยืน. (2559). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสามตุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 8(1): 172-180.

บรรเจิด เจริญเวช. (2552). ยุทศาสตร์การบริหารจัดการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการ ที่ดี พ.ศ. 2548 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น. 4(1): 176-188.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีดีย.

พลากร สุมงคโล ปริยัติ วรเมธี สยามพร พันธไชย และไทยน้อย สลางสิงห์. (2561). ภาวะผู้นำท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 5(1): 194-213.

พิชญ์ณิชา พรรณศิลป์ สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). บทบทของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในศตรวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3(2): 146-161.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร เอก ศรีเชลียง ดรุณศักดิ์ ตริยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). แนวทางการบริการสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการที่ดีแก่ประชาชนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(1): 147-157.

สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย. 2563. สืบค้นจากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/Home.php

อรณิชชา ทศตา อนุชา พิมายนอก สุกัญญา ใจอดทน และจันทร์จิรา ใจอดทน. (2558). การศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. วิทยาลัยนครราชสีมา. 539-545.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

Boonleaing, S., Ngamsanit, S., Bunjetrit, S., Muldet, K., Kroeksakul, P., & Promsaka, T. (2011). The Leadership characteristics and efficiency of local administrative organizations: A case study of local administrative organizations in the lower north region of Thailand. International Business & Economics Research Journal. 9(12): 119-122.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

de Hoogh, A. H. B., den Hartog, D. N., & Koopman, P. L. (2005). Linking the big five-factors of personality to charismatic and transactional leadership; perceived dynamic work environment as a moderator. Journal of Organizational Behavior. 26(7): 839-865.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021