ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางกลาง (ประชาสามัคคีอุปถัมภ์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น, ผังกราฟิก, การสนทนาออนไลน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับ ผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทางกลาง (ประชาสามัคคีอุปถัมภ์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์ เรื่อง พันธุกรรม จำนวน 6 แผน โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.48-4.81 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่มีความเหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าความยาก (p) เท่ากับ 0.40-0.73 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.25-0.87 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความยาก (p) เท่ากับ 0.40-0.73 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.22–0.78 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิกและการสนทนาออนไลน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2557). เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพ. ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน. (หน่วยที่ 9, น. 1-81). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิตติมา พันธ์พฤกษา, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์, รัตนาภรณ์ จินดาสวัสดิ์ และวัชราพร ฟองจันทร์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557ก). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2. ในประมวลชุดวิชาสารัตถะวิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (หน่วยที่ 9 น. 24-30). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557ข). คิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนวัดทางกลาง(ประชาสามัคคีอุปถัมภ์). (2560). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนวัดทางกลาง(ประชาสามัคคีอุปถัมภ์).
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วารสารวิชาการ. 10(4): 25 - 30.
ปริญญา อันภักดี. (2558). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม โดยจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ วิชา IPST-Micro-BOX ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนชุมแพศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปริยวิศว์ ชูเชิด และพฤกษ์ภูมิ ธีรานุตร. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3G หรือ 4G ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3(3): 84-93.
ปวีณ์กร บัวเพชร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E ร่วมกับการเขียนผังกราฟิก เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชัย พัวรุ่งโรจน์ ภัทร์พงศ์ พงศ์ภัทรกานต์ และสุชาดา พรหมโคตร. (2558). แนวโน้มวิธีการเรียน การสอนยุคใหม่ด้วยเครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์. เลย: สำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย: 43-65.
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. สมุทรปราการ: เนว่าเอ็ดดูเคชั่น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET) ชั้นม.3 ปีการศึกษา 2560-2562. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.niets.or.th/th/catalog/view/213. (2563, 25 มีนาคม)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551) คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสองพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
เสาวภา มาป้อง. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุไรวรรณ บุรินทร์โกษฐ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง น้ำและอากาศ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์