ความพึงพอใจของนักศึกษาต่องานภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ภาคิณ หมั่นทุ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธวัชชัย มูลตลาด สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, งานภูมิทัศน์, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่องานภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเปรียบเทียบความพึงพอใจ ของนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางด้านเพศและคณะที่ศึกษา ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยฯ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อหมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่องานภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.58, S.D. = 1.11) และการเปรียบเทียบความพึงพอใจพบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่องานภูมิทัศน์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะ ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่องานภูมิทัศน์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) 2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.vru.ac.th/. (2565, 11 มีนาคม).

ฉัตรชัย คงสุข. (2535). ความพึงพอใจของผู้รับบริการของแผนกคลังพัสดุ ฝ่ายภัตตาคาร และโภชนาการภายในประเทศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์รัฐศาสาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

อ้างถึง Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

ภาคิณ หมั่นทุ่ง. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อองค์ประกอบภูมิทัศน์ในสถานศึกษาเอกชน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต. วารสารVeridian E-Journal. 9(3): 1646-1658.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA).

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.). (2565). รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศปี 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://data.mhesi.go.th/dataset/higher-education/resource/

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://acad.vru.ac.th/about_acad/ac_showcourse.php. (2563, 14 กันยายน).

Best, J. & J. V. Kahn. (1993). Research in Education. Boston: Allyn and Bacon.

Dober, R. P. (2000). Campus Landscape. The United States of America: Acid-Free Paper.

Griffith, J. C. (1994). Open Space Preservation: An Imperative for Quality Campus Environments. American Journal of Higher Education. 65(6): 645-669.

Herz, M. (2012). Planning & Design. China: Design Media Publishing Limited.

Strange, C. C. & Banning, J. H. (2000). Educating by Design: Creating Campus Learning Environments that Work. San Francisco: Jossey-Bass.

UI GreenMetric. (2022). UI GreenMetric Guidelines. [Online], Available: https://greenmetric.ui.ac.id/publications/guidelines. (2022, 1 March).

Zimring, C. (1982). The built environment as a source of psychological stress: Impacts of buildings and cities on satisfaction and behavior. Environmental Stress. United Kingdom: Cambridge University Press. 17(3): 151-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2022