ความพร้อมของครู ในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่
คำสำคัญ:
ความพร้อมของครู, การจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่, ไวรัสโคโรน่าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของครูโรงเรียนมหาชัยคริสเตียนวิทยา ในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ และเปรียบเทียบระดับความพร้อมของครูโรงเรียนมหาชัยคริสเตียนวิทยาในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ ศึกษาจาก ครูโรงเรียนมหาชัย คริสเตียนวิทยา จำนวน 44 คน ใช้วิธีการศึกษากับประชากรทั้งหมด เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) การวิเคราะห์ t-test for independent sample และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนมหาชัยคริสเตียนวิทยาที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีระดับ ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่อยู่ในระดับมาก และครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีระดับความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรมกลุ่มที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด 5 รูปแบบการเรียนการสอนรองรับการเปิดภาคเรียนให้เหมาะสมแต่ละภูมิภาคของประเทศ. ออนไลน์: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/19133, สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 5(1): 43-51.
โรงเรียนมหาชัยคริสเตียนวิทยา. (2564). ประกาศเรื่องแนวทางปฏิบัติและการเตรียมความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปกติวิถีใหม่. ออนไลน์: https://www.mcs.education/news, สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, กิติศาอร เหล่าเหมณี, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ, และ สุมิตร สุวรรณ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(1): 44-61.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนา การเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(2): 1379-1395.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 กรรณิกา บุตราช, อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์