แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย

ผู้แต่ง

  • พลกฤต โสลาพากุล สาขาวิชาการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล สาขาวิชาการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ สาขาวิชาการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการ, ความสามารถในการแข่งขัน, ผู้ประกอบการ, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ       1) ศึกษาสภาพ และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยลักษณะธุรกิจ 3) ศึกษาปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และ 4) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแทนของผู้ประกอบการในธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 327 คน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสอบถาม โดยมีค่าดัชนี IOC  เท่ากับ 0.86 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.99 และ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยคุณลักษณะธุรกิจ โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

            ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการจัดการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังต่อไปนี้ ด้านการวางแผน รองลงมา ได้แก่ ด้านนวัตกรรม ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการผลิต และด้านการตลาด ตามลำดับ ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ภาพรวม พบว่า              อยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังต่อไปนี้ การมุ่งตลาดเจาะจงเฉพาะส่วน รองลงมาได้แก่ การสร้างความแตกต่าง และการความได้เปรียบทางด้านต้นทุน ตามลำดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยที่มีรูปแบบของธุรกิจ ทุนจดทะเบียน ระยะเวลา  ในการดำเนินกิจการ และสัดส่วนผู้ถือหุ้นแตกต่างกันมีความสามารถในการแข่งขันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการผลิต ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านนวัตกรรม ด้านการตลาด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 61.60 (R2 = 0.616) แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ได้แก่ แนวทางที่ 1 พัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการ และการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ แนวทางที่ 2 ยกระดับจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้ากำหนด เป็นการผลิตที่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ด้วยการดีไซน์มีการพัฒนารูปแบบสินค้าและเอาสินค้าเหล่านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้า หรือการผลิตภายใต้ แบรนด์ของตัวเอง แนวทางที่ 3 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพื่อสร้างนวัตกรรม และแนวทางที่ 4 การรวมกลุ่มเป็น Cluster ตลอดสายโซ่อุปทาน การสร้างตราสินค้า การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม

References

ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2554). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และผลการดำเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต. U Academic Review. 9 (2), 146-158.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2563). ข้อมูลสถิติโรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

ชูชีพ เอื้อการณ์. (2557). แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

ฐานวัฒน์ ฉัตรวิริยานนท์. (2563). การพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ

เครื่องนุ่งห่มไทยอย่างยั่งยืน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ไตรถิกา พิชิตเดช และคณะ. (2557). รายงานการวิจัยการสังเคราะห์งานวิจัยด้านอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐกานต์ พวงไพบูลย์. (2562). เทคโนโลยีการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธนพล สุขเวสโก. (2561). แนวทางการจัดการอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปสู่ความยั่งยืน.บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มานพ ชุ่มอุ่น. (2554). รายงานวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการทางการตลาดในผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา: กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2564). อุตสาหกรรมสิ่งทอกับ BCG ECONOMY. โครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมแฟชั่น ปี 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2561). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจการพาณิชย์ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

สถาบันพัฒนาสิ่งทอ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ธันวาคม 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสิ่งทอ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2563). จำนวนโรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ณ ธันวาคม 2562. กรมโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (ระบบออนไลน์).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME ด้วยข้อมูลด้านที่ไม่ใช่การเงิน (non-financial data) ภายใต้งานจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม.

อนุพงษ์ อินฟ้าแสง. (2560). ศักยภาพการปรับตัวเข้าสู่ตลาดโลกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26). กันยายน – ธันวาคม 2560.

Brzozowski. (2011). Viewpoint: Measuring the Well-being of the Poor with Income or Consumption: A Canadian Perspective. European University Institute - Economics Department (ECO); Institute for Fiscal Studies.

Chen, H. (2003). Relationships of Teamwork Skills with Performance Appraisals and Salary Information in a Taiwanese. High-performance Work Organization (China).

Kiyosaki. (2010). Rich dad's cash flow quadrant: guide to financial freedom. Scottsdale, Ariz.: Plata, 2012.

Kotler, P. (2012). Marketing Management. Pearson Education. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021