การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

ผู้แต่ง

  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธภร ยิ้มโสภา วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, ผู้ใช้หลักสูตร, หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต, นาฏศิลป์ศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักศึกษาที่ศึกษา ในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ และสถานภาพ ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน                  ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยจำแนกตามความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu  = 4.23, gif.latex?\sigma = 0.57) โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้สอน (gif.latex?\mu  = 4.37, gif.latex?\sigma = 0.54) ด้านการจัดการเรียนการสอน (gif.latex?\mu  = 4.36, gif.latex?\sigma = 0.59) ด้านการวัดและประเมินผล (gif.latex?\mu  = 4.33, gif.latex?\sigma = 0.50) ด้านหลักสูตร (gif.latex?\mu  = 4.18, gif.latex?\sigma = 0.65) และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (gif.latex?\mu  = 3.89, gif.latex?\sigma = 0.57)

References

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพโรจน์ ขาวสิทธิวงษ์. (2564). บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.sc.su.ac.th/knowledge/teacher.pdf (2564, 15 กันยายน).

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562,6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษที่ 56 ง. 12.

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562).

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 9(1): 135-145.

สีอำพัน อยู่คงคร้าม และคณะ. (2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/.pdf (2564, 2 กันยายน).

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สำราญ กำจัดภัย. (2559). การประเมินตามสภาพจริงในชั้นเรียน. วารสารวิชาการหลักสูตรและ

การสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เอมม่า อาสนจินดา และวีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพครู. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021