การศึกษาสภาพการเรียนรู้ออนไลน์ ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ออนไลน์ และเจตคติต่อการเรียนรู้ออนไลน์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ออนไลน์, การประเมินความต้องการจำเป็น, เจตคติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ 4) เปรียบเทียบเจตคติ
ต่อการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ที่เรียนสาขาวิชาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย จำนวน 310 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการเรียนรู้ออนไลน์และความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ออนไลน์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้ออนไลน์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified (Modified Priority Needs Index) และการทดสอบสมมติฐานใช้ F-test (One - way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยรวม
มีสภาพความเป็นจริงและสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยรวม มีค่าดัชนี PNImodified เท่ากับ 0.18 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าดัชนี PNImodified อยู่ระหว่าง 0.10-0.39 โดยด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน (PNImodified = 0.39) 3) เจตคติต่อการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ โดยรวม มีเจตคติที่ดี และ 4) นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาที่แตกต่างกัน มีเจตคติต่อ การเรียนรู้ออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). มาตรการและการเฝ้าระวัง
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/CCF_000006.pdf. (2564, 10 สิงหาคม).
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/index.php. (2564, 15 กรกฎาคม)
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. Veridian E-Journal Silpakorn University. 4(1), 652-666.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ:
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2558). สภาพและความต้องการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน “ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์”. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(2), 124-140.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิรุณโปรย สำโรงทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรทรัพย์ พรสวัสดิ์, และวรรณภา พนิตสุภากมล. (2562). ผลการเรียนรู้และเจตคติของนักศึกษา ในรายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมต่อการเรียนด้วย YouTube. Veridian E-Journal Silpakorn University. 12(1), 133-148.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). ประกาศมหาวิทยาลัย
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล แบบออนไลน์ (ฉบับที่ 4). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล, นริศรา จริยะพันธุ์, นิติกร อ่อนโยน, ศิริขวัญ บุญธรรม, สุชาวดี สมสำราญ, และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็น เพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์. Journal of Roi Kaensarn Academ. 6(6), 34-51.
ราชภัฏโพลล์. (2564). การเรียนการออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. กรุงเทพ: เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารวารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34), 285-398.
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. (2542). รูปแบบการเรียนของนักศึกษาและบุคลากรประจำการสถาบันราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อริย์ธัช สมโชค, อรสา จรูญธรรม, และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2564). การศึกษาสภาพการจัด การเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ). ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อรุณทวดี พัฒนิบูลย์. (2559). ความคาดหวังของนักศึกษากลุ่ม วิชาภาษาต่างประเทศ ต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 35(2), 63-78.
Allport, G. W. (1960). Personality and social encounter. Boston: Beacon.
Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th Ed.). New Delhi: Prentice Hall of India Pvt.
Ullah, O., Khan, W. & Khan, A. (2017). Students' Attitude towards Online Learning at Tertiary Level. PUTAJ – Humanities and Social Sciences. 25(1), 63-82.
Wijaya, T. T., Zhou, Y., Purnama, A. & Hermita, N. (2020). Indonesian students’ learning attitude towards online learning during the coronavirus pandemic. Psychology. Evaluation, and Technology in Educational Research. 3(1), 17-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิษณุ สุทธิวรรณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์